Delegate จะเก็บตําแหน่ง Address ของ Method ที่ต้องการจะเรียกใช้ ทําให้เราสามารถเรียกใช้ Method ใดๆ ผ่าน Delegate ได้ คุณอาจจะสงสัยว่า ทําไมไม่เรียกใช้ Function ตรงๆไปเลย ข้อดีของการเรียกผ่าน Delegate คือสามารถเรียก Mathod ของ Class อื่นได้
ตัวอย่างการใช้งาน ในบทความนี้ จะสร้างคลาส Class1 และคลาส Form1 โดยคลาส Class1 มี Delegate ชื่อว่า det สําหรับเรียกใช้ Method จากภายนอก ส่วนคลาส Form1 มี Method ชื่อ cal และ Form_Load
delegate class diagram การทํางานจะเริ่มจาก Form_Load โดยจะสร้าง Object ของคลาส Class1 หลังจากนั้นเรียก Method ชื่อ method1 โดยส่ง Adress ของ cal ไปให้กับ Delegate ในคลาส Class1 ทําให้คลาส Class1 สามารถเรียกใช้ Method cal จากคลาส Form_Load ได้ คลาส Class1
Public Class Class1
Public Delegate Function det(ByVal x As Integer, ByVal y As Integer)
Public Function method1(ByVal fnInput As det)
MsgBox(fnInput(9, 1)) 'เรียก Method จากภายนอก
End Function
End Class
คลาส Form1
Public Class Form1
Private Sub Form1_Load(sender As Object, e As EventArgs) Handles MyBase.Load
Dim obj As New Class1()
obj.method1(AddressOf cal) 'เรียก Method ของคลาส Class1 โดยที่คลาส Class1 จะไปเรียก Method cal ของคลาส Form1
End Sub
Public Function cal(ByVal x As Integer, ByVal y As Integer) As Integer
Return x + y
End Function
End Class
Output:
รูป Output โหลด Project ตัวอย่าง>>> delegate example vs2008 ข้อมูลเพิ่มเติมที่>>> artit-k.com/dev-callback-vb-net/
สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.8 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Channel Select Multiple Communication Operationsสําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.7 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.7 Go Unit Testingในบทความก่อนหน้านี้เราได้เรียนรู้เรื่องการใช้งาน Go Channel กันไปแล้ว จะเห็นว่าถ้าเราต้องการส่งข้อมูลมากกว่า 1 Channel อาจจะทําเกิด blocking การทำงาน เมื่อ Channel ใด Channel หนึ่งไม่มีการรับส่งข้อมูล หรือไม่สามารถส่งข้อมูลได้อีก สิ่งที่จะมาช่วยให้โปรแกรมของเราทํางานต่อไปได้ก็คือ Select statement เรามาดูวิธีการใช้งานตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ
การกําหนดค่าให้กัยตัวแปรด้วยโอเปอเรเตอร์ ถือเป็นการดําเนินการอีกรูปแบบหนึ่ง สําหรับการกําหนดค่า (Assignment Operator) มีอยุ่หลายชนิดดังนี้
สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้งาน Analog output หรือ PWM ใน Arduino กันครับ โดยปกติแล้ว Arduino จะทํางานกับข้อมูลหรือ I/O ที่เป็นแบบ Digital HIGH/LOW (0V/5V) แต่ในบางกรณีเราอาจจําเป็นต้องใช้งาน I/O ที่เป็นแบบ Analog (0v, 1V, 2V...5V) เพื่อใช้ควบคุมอุปกรณ์ที่เป็นแบบ Analog เช่น ความสว่างของหลอดไฟ, ควบคุมความเร็วของ Motor ฯลฯ