เริ่มต้น DigitalOcean

11 Feb 2019

Share to:

มาทําความรู้จัก DigitalOcean กันก่อน

DigitalOcean เป็น Simple Cloud Hosting คือผู้ให้บริการ Hosting ที่เราสามารถทําอะไรกับเครื่องได้ทุกอย่าง เหมือนกับว่าเรามีเครื่อง server มาใช้ทําอะไรก็ได้ตามที่เราต้องการ จุดเด่นของ DigitalOcean คือ ค่าบริการที่ถูกมาก เริ่มต้นเพียงเดือนละ $5 หรือ ประมาณ 180 บาท นอกจากค่าบริการที่ถูกแล้วยัง **ใช้งานง่าย **อีกด้วย หลังจากที่ผมได้ใช้งานมาสักพัก การ support ปัญหาต่างๆดีมาก

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มใช้ DigitalOcean

  • Droplet คือ คําที่ใช้เรียกแทน Server ที่ถูกสร้างขึ้นมา เวลาเราสร้าง Server ขึ้นมา ใน DigitalOcean จะเรียกว่า Droplet
  • Region จะใช้เรียกแทนตําแหน่งที่ตั้งของ Server ที่ถูกสร้างขึ้นมา
  • Snapshot คือ การ Backup Droplet ไว้ และสามารถทําไปสร้างเป็น Droplet ขึ้นมาใหม่ได้

สร้าง Account ของ DigitalOcean

ก่อนอื่นมาสมัคร Account ของ DigitalOcean กันก่อน โดยไปที่ link  นี้ m.do.co/c/47c1f87e7eef ถ้าสมัครผ่าน link นี้จะได้ใช้ฟรี $10 เมื่อเข้ามาแล้วจะพบกับหน้าจอดังภาพ ให้ใส่ email และ password ตามต้องการ แล้วกด Create Account ได้เลย

Image

แล้วก็ทําตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น

เริ่มสร้าง Droplet หรือ Server

เริ่มด้วย login เข้า Account แล้วไปที่เมนู Droplets(หมายเลข1) แล้วกดปุ่ม Create Droplet(หมายเลข2)

Image

ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเลือกคุณสมบัติต่างๆของ Server ที่จะสร้างขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • หมายเลข1  เลือก OS ที่ต้องการ
  • หมายเลข2 เลือก spec ของ server ค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ spec ที่เราเลือก
  • หมายเลข3 เลือก ตําแหน่งที่ตั้งของ server ที่ต้องการ
  • หมายเลข4 ตั้งชื่อของ Droplet หรือ Server

กดปุ่ม Create

Image

รอให้ระบบสร้าง Droplet สักครู่ DigitalOcean โปรโมทว่าสร้าง Droplet ไม่เกิน 55 วินาที

Image

เมื่อสร้างเสร็จ ระบบจะส่งข้อมูลสําหรับเข้าใช้ Server

  • ip ของ Server
  • user root
  • password

มาให้เราผ่านทาง email

Image

ขั้นตอนต่อไปให้ ไปที่ Droplet ที่สร้างขึ้น แล้วกดที่ Console เพื่อ Remote ssh เข้าไปที่ Server

Image

จะมีหน้าจอ Console ขึ้นมาให้เรา login ให้ login โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจาก email เมื่อ login ผ่านแล้ว ระบบจะให้เราตั้งรหัสผ่านใหม่

Image

เมื่อตั้ง password เสร็จ ระบบก็จะ login เข้า server หลังจากนี้จะติดตั้งโปรแกรม หรือจะทําอะไรก็ตามแต่ผู้อ่านได้เลยครับ server เป็นของท่านละครับ :)

Image

Suggestion blogs

การใช้ Real time clock กับ Raspberry pi

ใน Raspberry pi จะไม่มี Real Time Clock มาให้ เมื่อเราปิดเครื่อง หรือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับ Raspberry pi วันที่และเวลาของเครื่องจะไม่เป็นปัจจุบัน วิธีที่จะทําให้เวลาของเครื่องเป็นวันที่ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้ใช้ NTP server (จะต้องเชื่อมต่อกับเครือขาย internet)ใช้ Real time clock (ไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครือขาย internet)ในบทความนี้เราจะอธิบายวิธีใช้ Real time clock เป็นฐานเวลาให้กับ Raspberry pi ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่ามันคืออะไร Real time clock เป็น module ฐานเวลา เนื่องจากตัว module ใช้พลังงานจากถ่านกระดุมขนาดเล็กทําให้ตัว module ทํางานอยู่ตลอดเวลาแม้ไม่ได้จ่ายไฟเลี้ยง

วิธีปิด update google chrome

Google chrome จะ update อัตโนมัติ แต่ในบ้างครั้งเราไม่ต้องการจะใช้ version ใหม่ เพราะบางที่ version ใหม่อาจจะยังไม่ stable ดังนั้นเราจะมาปิด Google chrome update โดยมีขั้นตอนดังนี้ครับ

การใช้งานคำสั่ง git log

สวัสดีครับ บทความนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้งานคําสั่ง git log เพื่อดู commit history กันครับ


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.33.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ