CPU load average เป็นตัวเลข 3 ชุดที่บอกในหน้าจอ moniter(uptime, top) ของ Linux
ความหมายของเลขทั้ง 3 ชุดคือ
CPU load average แต่ละชุดจะบอกถึงค่าเฉลี่ยของปริมาณงานที่ส่งให้ CPU ประมวลผล โดยปกติ ถ้ามี CPU 1 Core และมีงานส่งให้ CPU นั้นทํางาน 100% ตลอดเวลา โดยไม่มีงานใดอยู่ในสถานะรอ CPU เลย จะทําให้ค่าของ CPU load average มีค่าประมาณ 1 แต่ถ้า CPU 2 core จะได้ค่า CPU load average ประมาณ 2 พูดง่ายๆก็คือ เมื่อใดที่ CPU load average มีค่าเกินกว่าจํานวน Core ของ CPU นั่นหมายความว่า มีงานจํานวนหนึ่งที่ยังไม่ถูกประมวลผล เนื่องจาก CPU ไม่ว่าง เพราะว่ากําลังประมวลผลงานอื่นอยู่ ถ้าเราเปรียบจํานวน core ของ CPU กับ จํานวนเลนของถนน และรถเปรียบเสมือนงานที่จะให้ CPU ประมวลผล ความยาวของเลนเปรียบเสมือนความเร็วของ CPU ลองมาดูค่าต่างๆของ CPU load average กันครับ
ข้อมูลและภาพประกอบจาก blog.scoutapp.com
Docker swarm เป็น Native Clustering ของ Docker คือเป็นเครื่องมือช่วยจัดการเครื่อง server ที่รัน Docker หลายๆเครื่องให้อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน พูดง่ายๆก็คือ การนําเอาเครื่อง server หลายๆเครื่อง (Worker) มาช่วยกันทํางาน โดยจะถูกควบคุมการทํางานโดย Manager และยังมีระบบ IPVS ที่เป็น Load-balance ซึ่งจะทําให้เราสามารถเข้าถึง Website หรือ Application ต่างๆ ที่เรารันอยู่ได้จากเครื่องไหนก็ได้ใน Swarm โดย IPVS จะช่วยจัดการให้เราเองโดยอัตโนมัติ ศัพท์ที่เกี่ยวกับ Docker swarm ที่ควรรู้มีดังนี้
หลังจากที่เราเรียนรู้ Component กันไปแล้ว ถ้ายังจํากันได้ภายใน Component มี Option ตัวนึงชื่อว่า Props ซึ่งมีหน้าที่ รับข้อมูลจากภายนอก Component เข้ามาใช้งานภายใน Component โดยจะรับข้อมูลผ่านทาง Attribute การใช้งาน Props สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ เราจะมาเรียนรู้ไปทีละแบบนะครับ
เมื่อเราพัฒนา web site หนึ่งขึ้นมา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บเรามีความเร็วในการทํางานมากน้อยแค่ไหน หรือแม้กระทั่ง Server ของเราทํางานได้ดีแค่ไหน สามารถรองรับ user ได้เท่าไร โดยปกติเมื่อเราติดตั้ง Apache จะมี tool ตัวนึงชื่อว่า ab (Apache Benchmark) ติดมาด้วย ซึ่ง tool ตัวนี้สามารถจําลองการเรียกใช้งานเว็บตาม path ที่เราระบุ