[Rectifier] วงจรเร็กติไฟร์

25 Jun 2016

Share to:

วงจรเร็กติไฟร์ หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า วงจรเรียงกระแส วงจรนี้จะทําหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยจะใช้ไดโอดเป็นอุปกรณ์หลักของวงจร ซึ่งชนิดของไดโอดที่นิยมนํามาใช้คือ ชนิดซิลิกอน วงจรเร็กติไฟร์มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้

  • เร็กติไฟเออร์ครึ่งคลื่น (Half Wave Rectifier)
  • เร็กติไฟเออร์เต็มคลื่นใช้หม้อแปลงมีแทปกลาง (Full Wave Rectifier by Center-tapped Transformer)
  • เร็กติไฟเออร์เต็มคลื่นแบบบริดจ์ ( Full Wave Bridge Rectifier)

เร็กติไฟเออร์ครึ่งคลื่น (Half Wave Rectifier)

เร็กติไฟร์เออร์ครึ่งคลื่น เป็นวงจรแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง โดยภายในวงจรจะใช้ ไดโอดเพียงตัวเดียว ใช้ไดโอดตัวนี้ในการตัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับออกไปซีกใดซีกหนึ่ง ดังรูป

Image

จากรูป เมื่อไฟฟ้ากระแสสลับช่วงบวกไหลผ่านไดโอด(ไบอัสตรง)จะสามารถไหนผ่านไอโอดไปได้ ทําให้มี output เป็น ซีกบวกออกไป แต่เมื่อไฟฟ้ากระแสสลับเป็นช่วงลบไหลผ่านไดโอด(ไบอัสกลับ)จะไม่สามารถไหลผ่านไดโอดได้ output ออกเป็น 0V

Image

จากรูป เมื่อไฟฟ้ากระแสสลับช่วงบวกไหลผ่านไดโอด(ไบอัสกลับ)จะไม่สามารถไหลผ่านไดโอดได้ output ออกเป็น 0V แต่เมื่อไฟฟ้ากระแสสลับเป็นช่วงลบไหลผ่านไดโอด(ไบอัสตรง) จะทําให้ไปลบไหนผ่านไดโอดได้ทําให้มี output ออกไปเป็นซีกลบ

เร็กติไฟเออร์เต็มคลื่นใช้หม้อแปลงมีแทปกลาง (Full Wave Rectifier by Center-tapped Transformer)

เร็กติไฟเออร์เต็มคลื่นใช้หม้อแปลงมีแทปกลาง(Full Wave Rectifier by Center-tapped Transformer) เป็นวงจรแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง โดยใช้หม้อแปลงแบบมีแทป และไดโอด 2 ตัว อันดับแรกเรามาดูการทํางานของหม้อแปลงแบบมีแทปกันก่อน

Image

ในรูป output ของหม้อแปลง V1 และ V2 ในช่วงเวลาเดียวกันจะมีไฟฟ้าซีกตรงข้ามกัน และมี CT เป็น 0V เมื่อนํามาต่อกับวงจรจะได้ดังนี้

Image

จากรูปเมื่อนําไดโอดสองตัวมาต่อ จะทําให้ไดโอดแต่ละตัวสลับกันทํางานตามช่วงเวลาที่ตัวเองไบอัสตรง ทําให้ได้ output ออกมาตามกราฟล่าง (Full Wave) เป็นกระแสตรง

เร็กติไฟเออร์เต็มคลื่นแบบบริดจ์ ( Full Wave Bridge Rectifier)

เร็กติไฟเออร์เต็มคลื่นแบบบริดจ์ ( Full Wave Bridge Rectifier) เป็นวงจรแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง โดยใช้ไอโอดทั้งหมด 4 ตัว จะต่อเป็นวงจรได้ดังนี้

Image

เริ่มต้นด้วยเมื่อมีไฟฟ้าซีกบวก(A)เข้ามา จะทําให้ D2 และ D4 ได้รับไบอัสตรง จะได้ output เป็นไฟซีกบวก ต่อมาเมื่อไฟซีกลบ(B)เข้ามา จะทําให้ D1 และ D3 ได้รับไบอัสตรง จะได้ output เป็นไฟซีกบวกเช่นเดียวกัน จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จึงทําให้เราได้ output เป็นไฟตรง ในการใช้งานจริงนั้น จะต้องต่อตัวเก็บประจุคร่อมที่ output เพิ่มเติม เพื่อให้ไฟกระแสตรงที่ยังกระเพื่อมอยู่เรียบเป็นเส้นตรง สามารถนําไปจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆได้

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ www.loeitech.ac.th

Suggestion blogs

Disable service worker ใน React

Service Worker คือ JavaScript ทำงานบนเว็บเบราเซอร์ ซึ่งจะทำงานอยู่เบื้องหลังแยกออกจากตัวเว็บโดยตัว Service Worker นิยมใช้ทำ Offline mode ที่เราพบเห็นจากเว็บส่วนใหญ่ของ Google รวมถึงการเพื่อทำ Web Push Notification และจะมีความสามารถอื่นๆ เพิ่มเข้ามาในอนาคต และ Service Worker สามารถดัก Network Request ของเว็บ เช่น HTTP Request, โหลดรูป หรือ API Call โดยทุก Request ที่ออกจากเว็บเราจะผ่าน Service worker ทั้งหมดทำให้เราสามารถจัดการ Network Request ได้ดีขึ้น เช่น การคืนค่าจาก Cache แทนที่จะส่ง Request นั้นออกไปจริงๆ หรือในกรณีที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้

Go EP.4 Syntax ของภาษา Go

สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.4 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Syntax ของภาษา Go ว่าภาษา Go มีรูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร แต่ละคําสั่งใช้อย่างไรสําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.3 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.3 Go packages คืออะไรมาเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

ตรวจสอบว่าตัวแปรเป็น Nothing ใน vb

วิธีการตรวจสอบว่าตัวแปรเป็น Nothing หรือ ไม่เป็น Nothing ใน vb ทําได้ดังนี้


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.45.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ