LDR ตัวต้านทานปรับค่าตามแสง

21 Sep 2016

Share to:

LDR (Light Dependent Resistor) คือตัวต้านทานปรับค่าตามแสง ตัวต้านทานชนิดนี้สามารถเปลี่ยนความนําไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ โฟโตรีซีสเตอร์ ( Photo  Resistor)   หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์   (Photo Conductor)   เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)   ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ ( Cds : Cadmium Sulfide)   หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ ( CdSe : Cadmium Selenide)   ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา โครงสร้างของ LDR

Image

การทํางานของ LDR เมื่อเวลามีแสงตกกระทบลงไปก็จะถ่ายทอดพลังงาน ให้กับสาร ที่ฉาบอยู่ ทำให้เกิดโฮลกับอิเล็กตรอนวิ่งกันพล่าน การที่มีโฮล กับอิเล็กตรอนอิสระนี้มากก็เท่ากับ ความต้านทานลดลงนั่นเอง ยิ่ง ความเข้มของแสงที่ตกกระทบมากเท่าไร ความต้านทานก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น ดังนั้นเมื่อ LDR ถูกแสงตกประทบจะทําให้ ตัว LDR มีความต้านทานลดลง และเมื่อไม่มีแสงตกประทบจะมีความต้านทานมากขึ้น สัญลักษณ์ของ LDR คือ

Image

ตัวอุปกรณ์ของ LDR [gallery link=“none” ids=“6800,6801,6802,6803,6804,6805”] LDR มักถูกนํามาใช้ในวงจร switch ทางแสง ปิด-เปิดไฟด้วยแสง วัดความเข้มแสง ฯลฯ ตัวอย่างการนํา LDR ไปใช้งานเบื้องต้น ลองดูตามวงจรนี้ครับ

Image

จากวงจรเมื่อมีแสงสว่างตกประทบ LDR ค่าความต้านทานของ LDR ลดลง ทําให้แรงดันตกคร่อม LDR ลดลงส่งผลให้ ทรานซิสเตอร์หยุดนํากระแสไฟฟ้า ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Load แต่เมื่อไม่มีแสงตกกระทบ LDR ค่าความต้านทาน LDR สูงขึ้น แรงดันตกครอม LDR สูงขึ้นทําให้ ทรานซิสเตอร์นํากระแส กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Load

ขอบคุณข้อมูลจาก sohailansaari.wordpress.com


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.45.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ