ก่อนที่จะเริ่มจดทะเบียนธุรกิจจําเป็นจะต้องรู้และ เข้าใจ การดําเนินธุรกิจในแบบต่างๆ ก่อน ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้ ในเรื่องของการดําเนินธุรกิจ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆดังนี้
บุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดา คือการดําเนินธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว การตัดสินใจกระทําการต่างๆ จะอยู่ที่เจ้าของเพียงผู้เดียว ดังนั้น ผลของการติดสินใจ ไม่ว่าจะดี ไม่ดี ขาดทุน กําไร เจ้าของเป็นผู้รับผลคนเดียวเต็มๆ การดําเนินธุรกิจประเภทนี้จะไม่สามารถระดมทุนจากใครได้ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจจะต้องไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน การชําระภาษี เป็นไปตามอัตราก้าวหน้า หมายถึงรายได้มากก็เสียภาษีมาก สูงสุด 37% ของกําไรหลังหักค่าใช้จ่าย
นิติบุคคล
นิติบุคคลเป็นรูปแบบการดําเนิธุรกิจที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทําธุรกิจร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกําไรตามสัดส่วนที่แต่ละคนได้ลงทุน ซึ่งการดําเนินธุรกิจนิติบุคคลจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
ประเภทของนิติบุคคล
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
- ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินไม่จํากัดจํานวน
- ลักษณะธุรกิจประเภทนี้ ไม่จําเป็นต้องเป็นนิติบุคคล
- ถ้าจดทะเบียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
- ถ้าไม่จดทะเบียนจะต้องมีสถานะเป็น คณะบุคคล
การเสียภาษีของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดา แต่จะแยกออกจากตังบุคคล โดยจะถือเป็นอีกบุคคลหนึ่ง และส่วนแบ่งผลกําไรจะถูกยกเว้นการเสียภาษีด้วย
2.ห้างหุ้นส่วนจํากัด
- ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สิน ไม่จํากัดจํานวน ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีสิทธิในการตัดสินใจในกิจการ
- ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สินจํากัด ไม่เกินเงินที่ได้ลงทุนไป ซึ่งหุ้นส่วนนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในกิจการ
3.บริษัทจํากัด
บริษัทจํากัดจะมีลักษณะดังนี้
- ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทต้องไม่น้อยกว่า 3 คน
- แบ่งเงินทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจํานวนค่าหุ้นที่ยังชําระไม่ครบถ้วน
- มีสภาพเป็นนิติบุคคล
- ลักษณะการตัดสินใจในการบริหารงานเป็นไปในรูปแบบของคณะกรรมการบริษัท จึงทําให้ได้รับความเชื่อถือมากกว่าบุคคลธรรมดา
- สามารถระดมทุนได้มากและง่าย
ที่มาของข้อมูล www.pattanakit.net