ในยุคนี้การทําเว็บส่วนใหญ่จะเน้นไปทางการทำ Web ที่เป็น Single Page Application จึงมี Framework ที่มาช่วยในการทําเว็บแบบ Single Page Application ที่จะช่วยให้เราสร้างเว็บได้ง่ายขึ้น Vue.js ก็เป็น Framework ตัวนึงที่นิยมใช้กัน ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้งาน Vue.js เบื้องต้น
แนวทางการพัฒนาเว็บด้วย Vue.js จะทําได้ 3 ทางดังนี้ 1. CDN คือการ import เข้าไปในไฟล์ html ของเราตรงๆได้เลยเช่น
<script src="https://cdn.jsdelivr.net/npm/vue"></script>
2. NPM คือการติดตั้งผ่าน NPM
$ npm install -g @vue/cli
3. CLI (แนะนํา) vue-cli เป็นชุดคำสั่งที่จะทำให้เราสามารถขึ้น Project ด้วย Vue.js ซึ่งรวม Tools และ Libaries ต่างๆที่จำเป็นมาให้เราในตัว โดยที่เราไม่ต้องไปตามหา ไล่ดาวน์โหลดเอง ในหัวข้อถัดไปเราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้งานกัน ในหัวข้อนี้จะบอกให้รู้ก่อนว่าแนวทางการพัฒนาเว็บด้วย Vue.js สามารถไปได้กี่ทาง
สิ่งที่ต้องมีในเครื่องของเราก่อนคือ node.js ถ้ามีแล้วก็ติดตั้ง vue-cli ด้วยคําสั่งนี้ได้เลย
npm install -g @vue/cli
เมื่อติดตั้งเรียบร้อย ก็มาสร้าง Project กัน ซึ่งการสร้าง Project ด้วย vue-cli นั้น จะมี Template มาให้เราเลือก 5 แบบ ได้แก่
ในบทความนี้เราจะมาสร้าง Project โดยใช้ คําสั่งนี้ได้เลย
vue create app-test
app-test คือชื่อของ Project ที่ต้องการจะสร้าง
เมื่อเรียกคําสั่งนี้ vue-cli จะถามคําถามต่างๆในการเริ่มสร้าง Project ให้ตอบไปประมาณนี้
เมื่อโหลดเสร็จแล้วจะได้ Folder ชื่อตามชื่อของ Project ของเราเลย ให้เราเข้าไปใน Folder นั้น ก็จะพบกับไฟล์ต่างๆมากมาย
ไฟล์สําคัญๆที่เราควรรู้คือ
สําหรับไฟล์อื่นๆ ในบทความต่อๆไปจะได้มาเรียนรู้กันครับ
เอาละ เราได้ Project มาแล้ว ต่อไป เราจะรัน Project ของเราใน mode dev กัน โดยใช้คําสั่ง
npm run serve
จะได้หน้าตาประมาณนี้
vue-cli จะ start web server ให้เราที่ port 8080 ใช้ browser เปิดเข้าไปที่ “http://localhost:8080/” ได้เลย จะได้หน้าตาประมาณนี้
ถ้าเราเขียนเว็บของเราเสร็จแล้ว แล้วต้องการจะเอาขึ้น Production เราจะต้อง Build โดยใช้คําสั่งนี้
npm run build
จะได้ประมาณนี้
File output จะอยู่ใน Folder “dist”
Mod_Rewrite คืออะไร?Mod_Rewrite คือ การแปลง url ที่ดูยุ่งยากให้เป็น url ใหม่ตามที่เราต้องการเพื่อประโยชน์หลายอย่าง เช่น การทํา SEO, การซ่อน url ที่แท้จริงของไฟล์ที่เราไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ ฯลฯ
กรณีที่เราลง Adobe Premiere Pro CS6 หลังจาก Crack แล้ว เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน Preset จะขึ้นไม่ครบ HDV ไม่ขึ้น ดังรูป
Plickers (Paper + Clicker) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้อาจารย์ Check ความเข้าใจในเนื้อหาของนักเรียนใน Class ที่ตนเองสอน ได้อย่างง่ายดาย