สวัสดีครับ ในบทความนี้จะเกี่ยวกับ Peer dependencies ใน npm ครับ
ในบางครั้งถ้าเราต้องการจะสร้าง Library A และ Plugin B ที่ใช้งานร่วมกันตัวอย่างเช่น
import A from 'A';
import B from 'B';
A.addPlugin(new B());
A.doSomeThing();
จากตัวอย่างด้านบน หมายความว่า Plugin B จะต้อง Implement ให้สามารถใช้งานใน Library A ได้
ปัญหาคือ ถ้า Library A มีการเปลี่ยน version และมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างที่ทําให้ Plugin B ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป จึงทําให้เกิดปัญหาขึ้นมา
Peer dependencies จะมาช่วยแก้ปัญหานี้คือ จะช่วยบอก npm ว่า Plugin B จะสามารถใช้งานกับ Library A version อะไรได้บ้าง
ตัวอย่างการกําหนด peerDependencies ให้กับ Plugin B
{
"name": "B",
"version": "1.0.0",
"peerDependencies": {
"A": "2.x"
}
}
จากตัวอย่างด้านบน หมายความว่า Plugin B v1.0.0 จะสามารถใช้งานร่วมกับ Library A v2.x ได้ แต่ใน Library A version อื่นๆนอกเหนือจากนี้ อาจจะไม่สามารถทํางานร่วมกันได้
ใน npm version 3-6 จะขึ้น Warning กรณีที่ version ของ package ใน peerDependencies ไม่ตรงกันกับ package ที่อยู่ใน node_module
แต่ ใน npm version 7 จะทําการ Install package ใน peerDependencies ให้โดยอัตโนมัติ ทําให้เกิด Conflic และ Error ขึ้นกรณีที่ ใน node_module มี package version อื่น อยู่แล้ว ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้ —legacy-peer-deps ตอนใช้คําสั่ง npm install เพื่อบอก npm ว่าไม่ต้อง Install ให้ แค่แสดง Warning ขึ้นมาเฉยๆพอ เหมือนกับ npm version 3-6
$ npm install --legacy-peer-deps <your package>
โดยปกติแล้วเราจะไม่สามารถเรียกใช้งาน docker-compose ได้ตรงๆใน crontab แต่ถ้าต้องการใช้ ให้ใช้วิธีนี้ครับ
การจัมพ์แบตเตอรี่รถสามารถทําเองได้ แต่ต้องระมัดระวัง เพราะแบตเตอรี่ มีส่วนประกอบของ นํ้ากรด ซึ่งในขณะที่แบตเตอรี่กําลังทํางาน จะเกิดก๊าซไฮโดรเจนสะสมในตัวแบตเตอรี่ จึงควรระมัดระวังเรื่องประกายไฟ เพราะอาจจะทําให้เกิดการระเบิดได้
ในบทความที่แล้ว (Docker Swarm คืออะไร) ผมได้อธิบายไปแล้วว่า Docker Swarm คืออะไร และการใช้งานแบบคร่าวๆ สําหรับในบทความนี้ผมจะมาทดลองให้ดูว่าเมื่อนํา Docker Swarm มาใช้งานแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าคําสั่งพื้นฐานของ Docker Swarm ที่จะต้องใช้มีอะไรบ้าง