การสร้าง archive และการบีบอัดข้อมูล linux

6 Sep 2015,
Share: 

การสร้าง archive

การสร้าง archive คือการรวมไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรกทอรีให้เป็นไฟล์เดียว สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง

tar cvf ARCHIVE.tar DIRECTORY

เช่น

tar cvf docs.tar /home/user/document

จะเป็นการรวมไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรกทอรี /home/user/document ให้เป็นไฟล์ชื่อว่า docs.tar

การเพิ่มไฟล์ใน archive

การเพิ่มไฟล์ใน archive ทำได้โดยใช้คำสั่ง

tar -r NEWFILE -f ARCHIVE.tar

การบีบอัดข้อมูล

ในการบีบอัดข้อมูล จำเป็นต้องทำ 2 ขั้นตอน คือ สร้าง archive แล้วจึงเอา archive นั้นมาบีบอัด การบีบอัดข้อมูลในระบบยูนิกซ์สามารถทำได้หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือใช้วิธีบีบอัดแบบ gzip และ bzip โดยที่ bzip จะสามารถบีบอัดข้อมูลได้มากกว่าแต่จะใช้เวลาบีบอัดนานกว่า gzip การบีบอัดแบบ gzip ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไฟล์ .tar.gz สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง

tar czvf ARCHIVE.tar.gz DIRECTORY

การบีบอัดแบบ bzip ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไฟล์ .tar.bz หรือ .tar.bz2 ขึ้นอยู่กับขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการบีบอัด สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง

tar cjvf ARCHIVE.tar.bz DIRECTORY

การแตกไฟล์ (Extract) จาก archive

การแตกไฟล์ (Extract) จาก archive ใช้คำสั่ง

tar xvf ARCHIVE.tar

ในกรณีที่ต้องการแตกไฟล์จาก archive ที่ถูกบีบอัด

ในกรณีที่ต้องการแตกไฟล์จาก archive ที่ถูกบีบอัด ต้องตรวจสอบว่าไฟล์นั้นถูกบีบอัดมาโดยใช้วิธีอะไร ถ้าบีบอัดด้วย gzip ใช้คำสั่ง

tar xzvf ARCHIVE.tar.gz

ถ้าบีบอัดด้วย bzip ใช้คำสั่ง

tar xjvf ARCHIVE.tar.bz2

ไฟล์ที่ถูก archive และบีบอัด เมื่อ Extract ออกมาแล้ว โครงสร้างของไฟล์และ permission จะเหมือนต้นฉบับทุกประการ

Suggestion blogs

การใช้ Real time clock กับ Raspberry pi

ใน Raspberry pi จะไม่มี Real Time Clock มาให้ เมื่อเราปิดเครื่อง หรือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับ Raspberry pi วันที่และเวลาของเครื่องจะไม่เป็นปัจจุบัน วิธีที่จะทําให้เวลาของเครื่องเป็นวันที่ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้ใช้ NTP server (จะต้องเชื่อมต่อกับเครือขาย internet)ใช้ Real time clock (ไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครือขาย internet)ในบทความนี้เราจะอธิบายวิธีใช้ Real time clock เป็นฐานเวลาให้กับ Raspberry pi ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่ามันคืออะไร Real time clock เป็น module ฐานเวลา เนื่องจากตัว module ใช้พลังงานจากถ่านกระดุมขนาดเล็กทําให้ตัว module ทํางานอยู่ตลอดเวลาแม้ไม่ได้จ่ายไฟเลี้ยง

รหัสมอร์ส (Morse)

รหัสมอร์สคืออะไร?รหัสมอร์สคือ รูปแบบการส่งข่าวสารทางโทรเลข ข่าวสารที่ติดต่อสื่อสารสามารถเป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ (รวมเรียกว่าอักขระ) ในการส่งข่าวสารนั้นจะส่งเป็นชุดสัญญาณเสียง ไฟหรือเสียงเคาะ (click) เปิด-ปิด เป็นจังหวะ สั้น-ยาว ที่แตกต่างกันในแต่ละตัวอักษร

วิธี run sudo command ใน QProcess

วิธี run sudo command ใน QProcess คือใส่ "/bin/sh -c" ข้างหน้าคําสั่งที่ต้องการเช่น


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.51.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ