Cover image

ชนิดของตัวแปรใน Arduino ที่ใช้บ่อยๆ

16 Jul 2019

Share to:

ตัวแปร คือ ที่สําหรับเก็บข้อมูล เพื่ออ้างถึงภายในโปรแกรม ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้นจะถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ และมีขนาดที่แตกต่างกัน โดยเราสามารถประกาศหรือกําหนดตามข้อมูลที่เราต้องการจะเก็บ

ประเภทของข้อมูลใน Arduino ที่ใช้กันบ่อยๆมีดังนี้

boolean

ใช้เก็บค่าข้อมูล เพียง 2 จํานวน คือ TRUE (จริง) และ FALSE (เท็จ) มีขนาด 1 bit

ตัวอย่าง

bool isSuccess = true;

char

ใช้เก็บค่าข้อมูลขนาด 8 bit ใช้สําหรับเก็บค่ารหัสของตัวอักษร ซึ่งสามารถกําหนดเป็นค่า หรือ เขียนตัวอักษรไว้ภายใต้เครื่องหมาย ฟันเดียวก็ได้ เช่น ‘T’ หรือ 0x41 หรือ 65 มีขนาด 1 bit

ตัวอย่าง

char valChar = 'A';

byte

ใช้เก็บค่าข้อมูลขนาด 8 bit ที่เป็นค่าจํานวนเต็มแบบไม่คิดเครื่องหมาย เหมือนกันกับ unsigned char ในภาษาซี ซึ่งสามารถเก็บค่าข้อมูลได้ 256 ค่า คือ 0-255

ตัวอย่าง

byte x = 5;

int

ใช้เก็บค่าข้อมูลขนาด 16 bit ที่เป็นค่าจํานวนเต็ม แบบคิดเครื่องหมาย โดยสามารถใช้เก็บข้อมูลได้ 65536 ค่า คือ -32768 ถึง +32767

ตัวอย่าง

int x = 5;

unsigned int

ใช้เก็บค่าข้อมูลขนาด 16บิต ที่เป็นค่าจํานวนเต็ม แบบไม่คิดเครื่องหมาย โดยสามารถใช้เก็บข้อมูลได้ 65536 ค่า คือ 0-65535

ตัวอย่าง

unsigned int  x = 5;

long

ใช้เก็บค่าข้อมูลขนาด 32 bit ที่เป็นค่าเลขจํานวนเต็มแบบคิดเครื่องหมาย โดยสามารถใช้เก็บข้อมูลได้ 4294967296 ค่า คือ -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647

ตัวอย่าง

long  x = 890;

unsigned long

ใช้เก็บค่าข้อมูลขนาด 32 bit ที่เป็นค่าเลขจํานวนเต็มแบบไม่คิดเครื่องหมาย โดยสามารถใช้เก็บข้อมูลได้ 4294967296 ค่า คือ 0 ถึง 4,294,967,295

ตัวอย่าง

unsigned long  x = 890;

float

ใช้เก็บค่าข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยมแบบคิดเครื่องหมายขนาด 32 บิต โดยสามารถเก็บค่าได้ ระหว่าง 3.4E-38 ถึง 3.4E+38 (-3.4028235E+38 ถึง 3.4028235E+38)

ตัวอย่าง

float  x = 890;

double

ใช้เก็บค่า เลขทศนิยมเช่นเดียวกันกับ float แต่มีค่าความละเอียดกว่า float ถึง 2 เท่า สามารถเก็บค่าได้มากถึง 1.7E+308

ตัวอย่าง

double  x = 890;

Suggestion blogs

Delegate คืออะไร และใช้งานอย่างไร

Delegate คืออะไรDelegate จะเก็บตําแหน่ง Address ของ Method ที่ต้องการจะเรียกใช้ ทําให้เราสามารถเรียกใช้ Method ใดๆ ผ่าน Delegate ได้ คุณอาจจะสงสัยว่า ทําไมไม่เรียกใช้ Function ตรงๆไปเลย ข้อดีของการเรียกผ่าน Delegate คือสามารถเรียก Mathod ของ Class อื่นได้

mkdir Command สร้าง Directory ใน Ubuntu

วิธีการสร้าง Directory ใน Ubuntu เราจะใช้ Command คือmkdir [OPTION]... [DIRECTORY]...[OPTION]... คือ  Option สําหรับสร้าง Directory ดังนี้

ซีเนอร์ไดโอด (ZENER DIODE)

ซีเนอร์ไดโอด (ZENER DIODE)ซีเนอรร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างเหมือนไอโอด คือมีสารกึ่งตัวนําชนิด P และ N มีขาสองขาเช่นเดียวกัน A และ K ความแตกต่างของ ซีเนอร์ไอโอด กับ ไดโอดธรรมดาคือ กระบวนการผลิตซีเนอร์ไอโอด จะเติมสารเจือปนลงไปในธาตุซิลิกอนมีจำนวนน้อยและจำนวนมากกว่าปรกติ พร้อมกับขบวนการผลิตเฉพาะ จึงได้ซีเนอร์ไดโอดขึ้นมาใช้งาน


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.41.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ