IDN กับการจดโดเมนภาษาไทย

7 Jan 2018

Share to:

IDN หรือเรียกเต็มๆว่า Internationalized Domain Name คือ ชื่อโดเมนที่สามารถประกอบด้วยอักขระ (character) อื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากรหัส ASCII ได้ ซึ่งเดิมทีการตั้งชื่อโดเมนจะถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ (อักษรโรมัน) A-Z, ตัวเลขอารบิก 0-9 และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) เท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดของระบบชื่อโดเมน (domain name system - DNS) ที่ใช้อยู่แต่เดิม

ความเป็นมาของ IDN

IDN Domain มีมานานแล้ว แต่พึ่งจริงจังเมื่อปี 1996 พัฒนามาและนำมาใช้เมื่อปี 1998 และนำเป็นมาตราฐานเมื่อปี 2005 โดยหลักการของ IDN คือการแปลง label (เลเบ็ล) ให้เป็น ASCII เพื่อให้ระบบทั่วโลกสามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งการแปลงรูปแบบนี้เป็นการแปลงให้อยู่ในรูปแบบ PunyCode

PunyCode คือ

PunyCode คือรหัส IDN จะขึ้นต้นด้วย xn— แล้วจึงตามด้วยตัวหนังสือภาษาอักฤษ เช่น “จดโดเมนภาษาไทย.com” จะได้ PunyCode เป็น xn—82cyamja3cfcm9e9eb2qc1a9b.com การจดทะเบียนใช้งาน IDN การจดโดเมนภาษาไทยเป็นมาตราฐานใหม่ ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้งานได้อย่างสากลและมี browser (เบราว์เซอร์) ต่างๆที่รองรับการทำงานและสนับสนุนที่จะเปลี่ยนเป็นภาษาไทยอัตโนมัติ การทำงานคือ เมื่อทำการเปิดเว็บไซต์ กรอกชื่อโดเมนภาษาไทย เช่น “http://จดโดเมนเนมภาษาไทย.com” browser จะแปลงข้อมูลชื่อโดเมนภาษาไทยนี้ให้เป็นระบบมาตราฐาน คือในรูปแบบ xn—82cyamja3cfcm9e9eb2qc1a9b.com ที่เป็นรูปแบบในภาษาอังกฤษแบบเดิมที่ใช้กันทั่วไป

ที่มา http://www.mindphp.com


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.34.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ