Cover image

20 JavaScript Array Methods ที่ควรรู้

20 Jul 2021

Share to:

สวัสดีครับ ในบทความนี้จะมีเนื้อหาการใช้งาน Function ในภาษา JavaScript และ TypeScript ที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลใน Array ได้ง่ายขึ้นมากๆ ตัวอย่างเช่น Filter ข้อมูล, รวมข้อมูล, Loop ข้อมูล, เพิ่มข้อมูล, ลบข้อมูล ฯลฯ

JavaScript Array Methods

1. map()

Methed นี้จะสร้าง array ขึ้นมาใหม่ โดยในแต่ละ item จะได้จาก ผลลัพธ์จากการ call function ที่เรากําหนด มาลองดูตัวอย่างกันครับ

const arr = [1, 2, 3, 4, 5, 6];
const mapped = arr.map((element) => element + 30);
console.log(mapped); // [31, 32, 33, 34, 35, 36]

2. filter()

Methed นี้จะสร้าง array ขึ้นมาใหม่ที่ถูก filter แล้ว โดยผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับ Condition ที่เรากำหนดใน function มาดูตัวอย่างจะทําให้เข้าใจมากขึ้นครับ

const arr = [1, 2, 3, 4, 5, 6];
const filtered = arr.filter((element) => element === 2 || element === 4);
console.log(filtered); // [2, 4]

3. sort()

Methed จะใช้ สําหรับ sort ข้อมูลใน array โดยรูปแบบการ sort จะขึ้นอยู่กับ condition ใน function ที่เรากําหนด ดูตามตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

const arr = [1, 2, 3, 4, 5, 6];
const alphabet = ['f', 'a', 'c', 'v', 'z'];

const descend = arr.sort((a, b) => (a > b ? -1 : 1));
console.log(descend); // [6, 5, 4, 3, 2, 1]

const ascend = arr.sort((a, b) => (a > b ? 1 : -1));
console.log(ascend); // ["a", "c", "f", "v", "z"]

4. forEach()

Methed จะช่วยในการ Loop ใน Array ตามตัวอย่างนี้ครับ

const arr = [1, 2, 3];
arr.forEach((element) => {
  console.log(element);
});
// 1
// 2
// 3

5. concat()

Methed จะช่วยในการนํา Array สองชุดมาต่อกัน ลองดูตามตัวอย่างครับ

const arr1 = [1, 2, 3];
const arr2 = [4, 5, 6];
console.log(arr1.concat(arr2)); // [1, 2, 3, 4, 5, 6]
console.log(arr1); // [1, 2, 3]
console.log(arr2); // [4, 5, 6]

6. every()

Methed จะช่วยให้เราสามารถ Check ทุกๆ Item ใน array โดยเราจะเป็นคนกําหนด Condition โดยถ้าผลออกมาเป็น true ทุก Item จะทําให้ every() return true แต่ถ้ามี Item อันใดอันหนึ่งเป็น false แล้ว every() จะ return false

const arr = [1, 2, 3, 5, 7];

const greaterFive = arr.every(num => num > 5);
console.log(greaterFive); // false

const lessNine = arr.every(num => num <> 9);
console.log(lessNine); // true

7. some()

Methed จะช่วยให้เราสามารถ Check ทุกๆ Item ใน array โดยเราจะเป็นคนกําหนด Condition โดยถ้า Item อันใดอันหนึ่งผลออกมาเป็น true จะทําให้ผลลัพธ์เป็น true ทันที แต่กรณีที่ผลเป็น false ทุก Item ผลลัพธ์จะออกมาเป็น false

const arr = [1, 2, 3, 5, 7];

const someItemGreaterFive = arr.some((num) => num > 5);
console.log(greaterFive); // true

const lessNum = arr.some((num) => num <= 0);
console.log(lessNum); // false

8. includes()

Methed สําหรับ Check ว่าใน Array มี Item นี้อยู่หรือป่าว โดยจะ return ออกมาเป็น boolean มาดูัวอย่างกันครับ

const arr = [1, 2, 3, 5, 7];

console.log(arr.includes(2)); // true
console.log(arr.includes(9)); // false

9. join()

Methed สําหรับรวม Array ให้เป็น string โดยสามารถกําหนด separator ในการรวมได้ ตามตัวอย่าง code ด้านล่าง

const arr = ['a', 'b', 'c'];

console.log(arr.join(',')); // a,b,c

10. reduce()

เราสามารถใช้ Methed ในการรวมข้อมูลใน array ได้ครับ หรือนําไปใช้ในแบบอื่นๆได้ ลองดูตามตัวอย่างนี้ครับ

const arr = [1, 2, 3, 4];

const reduced = arr.reduce((total, current) => total + current);

console.log(reduced); // 10

11. find()

Methed นี้จะใช้สําหรับหาข้อมูลใน Array โดยจะ return item แรกที่เจอครับ ตามตัวอย่างนี้

const arr = [1, 2, 3, 4, 7, 9, 10];

const found = arr.find((it) => it > 5);

console.log(found); // 7

12. findIndex()

Methed นี้จะใช้สําหรับหาข้อมูลใน Array โดยจะ return เป็น index ของ item แรกที่เจอครับ ตามตัวอย่างนี้

const arr = ['Apple', 'Mandeep', 'John'];

const foundIndex = arr.findIndex((it) => it === 'Mandeep');

console.log(foundIndex); // 1

13. indexOf()

Methed นี้จะใช้สําหรับหาข้อมูลใน Array โดยจะ return เป็น index ของ item แรกที่เจอครับ ซึ่งเราจะระบุเป็นข้อมูลที่จะค้นหาไปเลย และกรณีที่ไม่เจอข้อมูลจะ return -1 ตามตัวอย่างนี้

const arr = ['Apple', 'Mandeep', 'John'];

const foundIndex = arr.indexOf('Mandeep');

console.log(foundIndex); // 1

14. fill()

Methed นี้จะช่วยให้เราสามารถใส่ข้อมูลเข้าไปทุกช่องของ Array

const arr = new Array(3);

console.log(arr); // [empty, empty, empty]
console.log(arr.fill(20)); // [20, 20, 20]
console.log(arr); // [20, 20, 20]

15. slice()

Methed นี้จะช่วยให้เราสามารถหยิบเอาข้อมูลบางส่วนใน Array ออกมา

const arr = ['a', 'b', 'c', 'd', 'e'];

const sliced1 = arr.slice(2, 4);
const sliced2 = arr.slice(2);
const sliced3 = arr.slice(-1);

console.log(arr); // ["a", "b", "c", "d", "e"]
console.log(sliced1); // ["c", "d"]
console.log(sliced2); // ["a", "b"]
console.log(sliced3); // ["e"]

16. reverse()

Methed นี้จะช่วยให้เราสามารถ Reverse ข้อมูลใน Array ได้ง่ายๆ

const arr = [1, 2, 3];

arr.reverse();

console.log(arr); // [3, 2, 1]

17. push()

Methed นี้จะใช้ในการเพิ่มข้อมูลเข้าไปใน Array โดยจะเพิ่มเข้าไปในท้ายสุด Array

const arr = ['Apple', 'Peach'];

console.log(arr.push('Banana')); // 3
console.log(arr); // ["Apple", "Peach", "Banana"]

18. pop()

Methed นี้จะใช้ในการดึงข้อมูลท้ายสุดของ Array ออกมา 1 Item

const arr = ['Apple', 'Peach'];

console.log(arr.pop()); // Peach
console.log(arr); // ["Apple"]

19. shift()

Methed นี้จะใช้ในการดึงข้อมูลแรกสุดของ Array ออกมา 1 Item

const arr = ['Apple', 'Peach'];

console.log(arr.shift()); // Apple
console.log(arr); // ["Peach"]

20. unshift()

Methed นี้จะใช้ในการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในส่วนแรกของ Array

const arr = ['Apple', 'Peach'];

console.log(arr.unshift('Banana')); // 3
console.log(arr); // ["Banana", "Apple", "Peach"]

Suggestion blogs

วิธีป้องกันสแปมรบกวนใน iMessage

สําหรับผู้ใช้งาน iPhone ในช่วงนี้ได้รับข้อความสแปมใน iMessage ทําให้บางคนเกิมความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย และเกิดความรำคาญ ในความเป็นจริงแล้วเราไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องไปกด Link ต่างๆที่ส่งเข้ามาก็ได้ครับ ไม่มีผลกระทบใดๆกับเครื่องของเราแต่อย่างใด แต่สําหรับใครที่ยังรำคาญ เราก็สามารถ Setting เพื่อโยนข้อความ iMessage ที่ถูกส่งมาจากบุคคลอื่น (บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อใน Contact ของเรา) แยกไปอยู่ใน Unknown Senders และก็จะไม่มีการแจ้งเตือนให้หน้ารําคาญ สามารถ Setting ได้ตามวิธีดังนี้ครับ

Configure the Linux Firewall for Docker Swarm on Ubuntu

บทความนี้จะเกี่ยวข้องกับการ Config Linux Firewall ให้สามารถใช้งาน Docker swarm ได้ ถ้าไม่ได้ Config เราจะเจอกับ Error นี้ "Timeout was reached before node was joined. The attempt to join the swarm will continue in the background. Use the "docker info" command to see the current swarm status of your node." ในขั้นตอนการ Join Swarm เพราะว่า Docker Swarm ใช้งาน port ดังต่อไปนี้

[ภาษาซี] ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับชนิดของข้อมูล

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับชนิดของข้อมูลคือ การประกาศตัวแปร การประกาศตัวแปรในภาษาซีนั้น จําเป็นจะต้องกําหนดชนิดของข้อมูลด้วย


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.45.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ