Cover image

ขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump)

20 Jul 2021

Share to:

สวัสดีครับ ในบทความนี้เราจะมาทําความรู้จักกับ ขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump) กันครับ โดยจะมาเรียนรู้ว่ามีหลักการทํางานอย่างไร มีข้อดีต่างจากขวดปั้มธรรมดาอย่างไร

ขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump) คืออะไร

ขวดปั๊มสุญญากาศ (Airless pump) เป็นขวดปั้มที่ไม่มีท่อยาวๆที่ใช้ดูดของเหลวเหมือนกับขวดปั้มแบบทั่วๆไป

จากรูปด้านล่างนี้จะเป็นขวดปั้มแบบธรรมดาทั่วไป จะเห็นว่ามีท่อยาวไปจนถึงก้นขวด

general-pump

สําหรับ ขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump) จะมีท่อสั้นๆเท่านั้น และตรงก้นขวดจะสามารถขยับขึ้นตามความดันภายในขวดตามรูปด้านล่าง

Image

การทํางานของ ขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump)

การทํางานของขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump) จะอาศัยสูญญากาศภายในขวดในการปั้มของเหลว โดยเมื่อเรากดปั้มของเหลวออกมา ภายในขวดจะเกิดสูญญากาศขึ้น และไม่มีอากาศเข้าไปแทนที่ของเหลวเหมือนกับขวดปั้มทั่วๆไป ส่งผลทําให้สามารถดึงแกนกระบอกสุญญากาศยกขึ้นมาแทนที่ปริมาตรที่หายไป ตามรูปด้านล่างครับ

Image

ข้อดีของ ขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump)

  • สามารถดูดของเหลวออกมาได้หมดขวด ไม่เหมือนขวดปั๊มทั่วไปที่มักมี dead volume บริเวณที่ไส้ปั๊มไม่สามารถดูดถึง
  • ขวดปั้มสูญญากาศ (Airless pump) ไม่มีการปั้มอากาศเข้าไปแทนที่ของเหลว ทำให้ช่วยป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรคในอากาศและ สิ่งแวดล้อมภายนอกได้

ที่มาของรูปภาพ:

Suggestion blogs

ชนิดของตัวแปรใน Arduino ที่ใช้บ่อยๆ

ตัวแปร คือ ที่สําหรับเก็บข้อมูล เพื่ออ้างถึงภายในโปรแกรม ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้นจะถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ และมีขนาดที่แตกต่างกัน โดยเราสามารถประกาศหรือกําหนดตามข้อมูลที่เราต้องการจะเก็บ

Pull up, Pull down คืออะไร?

Pull up, Pull down คืออะไร?คือการต่อ ตัวต้านทานที่ขา input ของไมโครคอนโทลเลอร์ เหตุผลที่ต้องต่อคือ ถ้าเราต่อสวิตส์หรือ เซนเซอร์ต่างๆ เข้ากับไมโครคอนโทรเลอร์ตรงๆ อย่างเดียว อาจจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ในกรณีที่ input ถูกลอยขาไว้ ไม่ได้จ่าย logic high หรือ low เช่น การต่อสวิตส์ ถ้าเรากดสวิตส์ จะทำให้มี logic high จ่ายให้กับ input ของไมโครคอนโทลเลอร์ แต่ถ้าเราปล่อยสวิตส์ ทำให้ ขา input ถูกลอยไว้ ไม่ได้ต่อลงกราวหรือ logic low ดังนั้นจึงต้องต่อ Pull up, Pull down เพื่อให้แน่ใจว่าเป็น logic high หรือ low เสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่มี input ป้อนเข้ามา

วิธีออกแบบระบบ โซล่าเซลล์

ในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบและคํานวณระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งจะหาว่าถ้าเราใช้อุปกณ์ไฟฟ้าเท่านี้เราจะใช้โซล่าเซลล์ เท่าไร แบตเตอรรี่เท่าไร


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.34.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ