ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการทําเว็บ Server บน Ubuntu กันครับ การทําเว็บ Server ใน Ubuntu โดยทั่วไปจะต้องติดตั้งโปรแกรม อย่างน้อย 4 ตัว คือ Apache, MySQL, PHP, phpMyAdmin เรามาเริ่มติดตั้งกันเลยครับ
sudo apt-get update
sudo apt-get install apache2
เมื่อติดตั้งเสร็จ พื้นที่ที่เก็บข้อมูลของเว็บจะอยู่ที่ “/var/www/html/” วิธีการ Satrt, Stop, Restart Apache ใช้คําสั่งนี้
sudo service apache2 start
sudo service apache2 stop
sudo service apache2 restart
ติดตั้ง MySQL ด้วยคําสั่งนี้
sudo apt-get install mysql-server libapache2-mod-auth-mysql php5-mysql
ในระหว่างการติดตั้งโปรแกรมจะให้เราตั้งรหัสผ่านสําหรับ root user
install MySQL
ติดตั้ง PHP ด้วยคําสั่งนี้
sudo apt-get install php5 libapache2-mod-php5 php5-mcrypt
เมื่อติดตั้ง PHP เสร็จ ให้ตั้งค่า Web Server เรียกหน้าเว็บที่เป็นไฟล์ *.php ก่อน เป็นอันดับแรก โดยแก้ไขไฟล์ “dir.conf”
sudo nano /etc/apache2/mods-enabled/dir.conf
เปลี่ยนข้อมูลให้ index.php มาอยู่หน้าสุด
<IfModule mod_dir.c>
DirectoryIndex index.php index.html index.cgi index.pl index.xhtml index.htm
</IfModule>
หลังจากแก้เรียบร้อยแล้วให้ Restart Service ด้วยคําสั่งนี้
sudo service apache2 restart
ติดตั้ง phpMyAdmin ด้วยคําสั่งนี้
sudo apt-get install phpmyadmin
ในระหว่างการติดตั้งโปรแกรมจะให้เราเลือก Web Server เลือกเป็น Apache2 แล้วกด Ok
เลือก Yes
ขั้นตอนนี้โปรแกรมจะถาม Password root ของ MySQL
ขั้นตอนนี้โปรแกรมจะให้เราตั้ง Password ของ User: phpmyadmin
หลังจากติดตั้ง phpMyAdmin เรียบร้อยขั้นตอนต่อไป ทําให้สามารถเรียก phpMyAdmin ได้ด้วย url “http://www.yousite.com/phpmyadmin” ให้ใช้คําสั่งดังตอไปนี้
sudo ln -s /etc/phpmyadmin/apache.conf /etc/apache2/conf-available/phpmyadmin.conf
sudo a2enconf phpmyadmin
sudo /etc/init.d/apache2 reload
Floating IP คืออะไรFloating IP คือ Static IP ที่ชี้ไปยัง droplet อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเราสามารถระบุได้ว่าต้องการจะให้ชี้ หรือ redirect ไปที่ droplet ไหน โดยสามารถทําได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว
เทคนิคการต้มไข่ เริ้มต้นด้วยนําไข่ใส่ในหม้อ และเติมนํ้าลงไปจนท่วมไข่ นําหม้อไปตั้งไฟ รอจนนํ้าเดือดแล้วจึงเริ่มจับเวลา โดยระยะเวลาการต้มจะขึ้นอยู่กับความต้องการดังนี้
สวัสดีครับ บทความนี้เราจะมาทําความรู้จักกับ Git Repository กันนะครับ ว่าคืออะไรมีความหมายว่าอะไร