วิธีใช้ PuTTy เชื่อมต่อไปยัง google instance

3 Oct 2017

Share to:

หลังจากที่เขียนบทความเรื่อง วิธีสร้าง VM Instance ใน google developers console ผมยังไม่ได้อธิบายวิธีการใช้ PuTTy เชื่อมต่อไปยัง google instance ในบทความนี้ผมจะมาอธิบายวิธีเชื่อมต่อ PuTTy ไปยัง google instance อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีดังนี้

Image

ต่อมาให้ใช้เมาส์ลากไปมาภายในกรอบสีแดงจนโปรเกสบาร์เต็ม

Image

หลังจากนั้นให้เราใส่ Key comment โดยมีรูปแบบคือ <user>@<instance name>

  • user คือ User ใน Ubuntu ที่เราจะ login เข้าใช้งาน
  • instance name คือ ชื่อของ instance

ในส่วนของ Key Passphrase จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ มันคือ ตั้ง Password สําหรับ Private Key เมื่อใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เราจะได้ Private Key และ Public Key

  • Public Key —> Copyไปใส่ใน SSH Key ของ google instance จะอธิบายในลําดับต่อไป
  • Private Key —> Save เป็นไฟล์ แล้วนําไปเพิ่มในตั้งค่าของ PuTTy จะอธิบายในลําดับต่อไป

Image

ขั้นตอนต่อไปให้ไปที่ google project ที่ต้องการ แล้วเข้าเมนู  Compute—>Compute Engine—>Metadata(หมายเลข 1) เลือกแทบ SSH Key(หมายเลข 2) หลังจากนั้น คลิกปุ่ม “Edit”(หมายเลข 3)

Image

ให้เราเพิ่ม Public Key แล้ว คลิก “Done”

Image

เมื่อเพิ่ม Public Key แล้ว ให้เรามาที่โปรแกรม PuTTy ให้เราใส่ข้อมูลดังนี้

  • Host Name(or IP address) คือ ให้เราใส่ Host Name หรือ IP ของ google instance ที่เราจะเชื่อมต่อ
  • Saved Sessions คือ ชื่อที่เราจะบันทึกการตั้งค่าไว้ เป็นชื่ออะไรก็ได้

Image

ในหัวข้อ Category: ด้านซ้ายให้เลือก Connection—>SSH—>Auth(หมายเลข 1) แล้วคลิกปุ่ม “Brouse…”(หมายเลข 2) เพื่อเลือก ไฟล์ Private Key ที่เราสร้าไว้ในตอนแรก

Image

เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ใน Category ให้เลือก Session(หมายเลข 1) และ คลิกปุ่ม “Save”(หมายเลข 2) แล้วคลิกปุ่ม “Open”(หมายเลข 3)

Image

ระบบจะให้เราใส่ user

Image

ในกรณีที่เราตั้ง Key Passphrase ระบบจะถาม Key Passphrase ให้เราใส่ตามที่เราตั้งไว้

Image

เท่านี้เราก็สามารถเชื่อต่อไปยั้ง google instance ด้วย PuTTy ได้แล้วครับ :)

Suggestion blogs

ติดตั้ง node.js และ npm

Imagenode.js คืออะไร?node.js คือการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา javascript บนฝั่ง Server จริงๆแล้ว node.js จะรวม environment ต่างๆ ที่ทำขึ้นเพื่อให้เราเขียน JavaScript เอาไว้ที่ฝั่ง server node.js นั้นขึ้นชื่อในเรื่องความเร็วของการประมวลผล จึงทำให้ application ที่เขียนด้วย Node.js นั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

Go EP.4 Syntax ของภาษา Go

สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.4 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Syntax ของภาษา Go ว่าภาษา Go มีรูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร แต่ละคําสั่งใช้อย่างไรสําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.3 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.3 Go packages คืออะไรมาเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

Vue.js เริ่มต้น ตอน4 (Data and Methods)

สวัสดีครับ จะเป็นบทความสั้นๆนะครับ ที่เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับสอง Option นี่คือ Data และ Methods ซึ่งผมจะอธิบายไปที่ละตัวพร้อมกับยกตัวอย่างครับ ดังนี้


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.34.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ