การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุ Capacitor

2 Dec 2017

Share to:

ปัจจุบันตัวเก็บประจุถูกผลิตออกมามากมายหลายแบบ ประเภทของตัวเก็บประจุที่พบส่วนใหญ่มีดังนี้

  • Tantalum electrolytic capacitors
  • Ceramic capacitors
  • Silver mica capacitors
  • Mylar capacitors
  • Bipolar capacitors
  • Electrolytic capacitors [gallery columns=“2” ids=“1876,1877,1878,1879,1872,1875”] การระบุค่าความจุก็แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่แล้วรูปแบบการระบุค่าความจุของตัวเก็บประจุ 3 แบบ
  1. บอกเป็นตัวเลขค่าความจุ
  2. บอกเป็นรหัสตัวเลข
  3. บอกเป็นแถบสี

การอ่านความความจุแบบ บอกตัวเลขค่าความจุ

ตัวเก็บประจุประเภทนี้โดยสุ่นใหญ่จะมีค่าความจุสูงๆ ที่ตัวถังจะบอกค่าความจุและ ทนแรงดันไฟสูงสุด

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบระบุค่าความจุ จากรูป อ่านค่าได้ 1000 uF(micro farad)

การอ่านความความจุแบบ รหัสตัวเลข

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบบอกรหัสตัวเลข ตัวเก็บประจุประเภทนี้จะระบุค่าความจุเป็นรหัสตัวเลข ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าน้อยๆ วิธีการอ่านตามรูปด้านล่างครับ

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบบอกรหัสตัวเลข ตารางค่าความผิดพลาด และอัตราทนแรงดันตัวเก็บประจุ

Image

ตารางค่าความผิดพลาด-อัตราทนแรงดันตัวเก็บประจุ

Image

ตัวอย่างวิธีการอ่านรหัส 102K คือ หลักที่ 1 คือ ตัวเลข 1 หลักที่ 2 คือ ตัวเลข 0 หลักที่ 3 คือ 100(10ยกกำลัง 2) หลักที่ 4 คือ K หมายความว่า ความผิดพลาด +-10% ค่าความจุคือ |-> (หลักที่ 1 ต่อกับหลักที่ 2) x หลักที่ 3 |-> (10) x 100 |-> 1,000  (pF) หรือ 0.001 uF +-10%

การอ่านความความจุแบบ บอกเป็นแถบสี

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบบอกแถบสี วิธีการอ่านจะคล้ายๆกับ การอ่านค่าตัวต้านทาน ตัวอย่างการอ่านดังนี้

เหลือง  จะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง มีค่า 4

ม่วง       จะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง มีค่า 7

เหลือง  จะเป็นตัวคูณ มีค่า     x10000

ขาว       จะเป็นเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด มีค่า 10 %

แดง       จะเป็นอัตราทนแรงดันไฟฟ้า มีค่า 200 V

ดังนั้นสามารถอ่านได้

470000 pF หรือ 0.47 uF

Suggestion blogs

Goodbye wordpress, Hello Hugo

สวัสดีครับ กลับมาอีกครั้งหลังจากหายไปไม่ได้เขียน Blog นานมากๆ กลับมาครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างครับชื่อเว็บเปลี่ยนจากเดิม www.thitiblog.com เป็น thiti.dev แล้วในตอนนี้ และเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ Wordpress มาเป็น Hugo ก็จะมาเล่าให้ฟังว่า Hugo มันคืออะไร ดีอย่างไง ทําไมถึงหันมาใช้ Hugo

วิธีหมักหมูให้นุ่ม

วิธีหมักหมูให้นุ่ม สําหรับทําหมูกระทะ สุกี้ เริ่มต้นด้วยการเตรียมเครื่องปรุงตามนี้

LDR ตัวต้านทานปรับค่าตามแสง

LDR (Light Dependent Resistor) คือตัวต้านทานปรับค่าตามแสง ตัวต้านทานชนิดนี้สามารถเปลี่ยนความนําไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ โฟโตรีซีสเตอร์ ( Photo  Resistor)   หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์   (Photo Conductor)   เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)   ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ ( Cds : Cadmium Sulfide)   หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ ( CdSe : Cadmium Selenide)   ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา โครงสร้างของ LDR


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.19.0 |  Privacy policy |  status | 

            วงแหวนเว็บ