Cover image

Go EP.5 Go Routine

5 Sep 2021

Share to:

สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.5 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Go Routine ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญมากในการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา Go เพราะจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาโปรแกรมที่มี Performance ที่ดีครับ

สําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.4 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.4 Syntax ของภาษา Go

มาเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

Go Routine คืออะไร

โดยปกติเมื่อเราเขียนโปรแกรมภาษา Go ตัวโปรแกรมจะ Run Code ไปทีละบรรทัดจากบนลงล่าง ซึ่งจะใช้ CPU เพียง 1 Core เท่านั้น ตามตัวอย่างนี้ครับ

package main

import (
	"fmt"
	"time"
)

func main() {
	start := time.Now()

	task1()
	task2()
	task3()

	fmt.Println("ใช้เวลาในการ Run ทั้งสิ้น : ", time.Since(start))
}

func task1(){
	time.Sleep(3 * time.Second)
	fmt.Println("Task1 success")
}

func task2(){
	time.Sleep(5 * time.Second)
	fmt.Println("Task2 success")
}

func task3(){
	time.Sleep(3 * time.Second)
	fmt.Println("Task3 success")
}

// ผลลัพธ์จากการ Run

// Task1 success
// Task2 success
// Task3 success
// ใช้เวลาในการ Run ทั้งสิ้น :  11s

จะเห็นว่าในแต่ละ Task จะทํางานไปตามลําดับ ทําให้เวลารวมของการทํางานในโปรแกรมนี้คือ 9 วินาที

แต่การใช้ Go Routine คือการเขียน Code ให้สามารถทํางานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน หรือสามารถ Run งานด้วย CPU 2 Core นั่นเอง หมายความว่าโปรแกรมที่เราเขียนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มาดูวิธีการใช้งานตามหัวข้อถัดไปได้เลยครับ

Go Routine ใช้งานยังไร

การใช้งาน Go Routine คือเราสามารถใส่ keyword “go” ไว้หน้า Function ที่เราต้องการจะให้แยก Thread ออกไปทํางาน function นั้นจะแยก Thread ออกไปทํางานทันที ลองดูตามตัวอย่างนี้ครับ

package main

import (
	"fmt"
	"time"
)

func main() {
	start := time.Now()

	task1()
	go task2()
	task3()

	fmt.Println("ใช้เวลาในการ Run ทั้งสิ้น : ", time.Since(start))
}

func task1(){
	time.Sleep(3 * time.Second)
	fmt.Println("Task1 success")
}

func task2(){
	time.Sleep(5 * time.Second)
	fmt.Println("Task2 success")
}

func task3(){
	time.Sleep(3 * time.Second)
	fmt.Println("Task3 success")
}

// ผลลัพธ์จากการ Run

// Task1 success
// Task3 success
// ใช้เวลาในการ Run ทั้งสิ้น :  6s

จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า Task2 หายไป เนื่องจาก Task2 แยก Thread ออกไปทํางานแต่ยังทํางานไม่เสร็จ แต่ Main thread ทํางานจบก่อนทําให้โปรแกรมจบการทํางาน Task2 จึงไม่ถูกทํางานต่อจนจบ

เรามาลองเปลี่ยนใหม่โดยเพิ่ม Sleep ก่อนที่จะจบโปรแกรมเพื่อรอให้ Task2 ทํางานเสร็จก่อน ตามนี้ครับ

package main

import (
	"fmt"
	"time"
)

func main() {
	start := time.Now()

	task1()
	go task2()
	task3()

	allTime := time.Since(start) // วัดเวลาการทํางานเฉพาะ Task1, Task2, Task3 เท่านั้น

	time.Sleep(5 * time.Second)

	fmt.Println("ใช้เวลาในการ Run ทั้งสิ้น : ", allTime)
}

func task1(){
	time.Sleep(3 * time.Second)
	fmt.Println("Task1 success")
}

func task2(){
	time.Sleep(5 * time.Second)
	fmt.Println("Task2 success")
}

func task3(){
	time.Sleep(3 * time.Second)
	fmt.Println("Task3 success")
}

// Task1 success
// Task3 success
// Task2 success
// ใช้เวลาในการ Run ทั้งสิ้น :  6s

จะเห็นว่าเราได้เพิ่ม “time.Sleep(5 * time.Second)” เพื่อรอ 5 วินาที ทําให้ Task2 สามารถทํางานได้จนเสร็จ และที่สําคัญ เวลาในการทํางานของ Task1, Task2, Task3 รวมกันลดลงจาก 11s เหลือ 6s

สําหรับในการใช้งานจริงเราจะไม่ใช้ Sleep เพื่อรอแบบนี้นะครับ เราจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Channel ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญในการใช้งานร่วมกับ Go Routine

ขอให้สนุกกับการเขียน Code นะครับ ขอบคุณครับ

สําหรับ EP. ต่อไปจะเป็นเรื่อง Go EP.6 Go Channel เข้าไปอ่านต่อได้เลยครับ

Suggestion blogs

[Rectifier] วงจรเร็กติไฟร์

วงจรเร็กติไฟร์ หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า วงจรเรียงกระแส วงจรนี้จะทําหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง โดยจะใช้ไดโอดเป็นอุปกรณ์หลักของวงจร ซึ่งชนิดของไดโอดที่นิยมนํามาใช้คือ ชนิดซิลิกอน วงจรเร็กติไฟร์มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้

เริ่มต้นใช้ Linode

Linode คืออะไรLinode เป็น เป็นผู้ให้บริการ VPS (Virtual Private Server) เจ้าหนึ่ง เช่นเดียวกับ Digital Ocean และ Vultr ที่สามารถควบคุมได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะลงโปรแกรม หรือ Config Server ต่างๆ เหมือนเราเป็นเจ้าของ Server เครื่องนั้นๆเลย ซึ่งเบื้องหลังเค้าไม่ได้ให้เราควบคุมเครื่องจริงๆ แต่จะจําลองเครื่อง Server ขึ้นมาให้เราได้ใช้งานเสมือนว่าเราเป็น

การใช้งาน Neo Pixel WS2812B กับ Raspberry pi2

ในบทความที่แล้ว เราทำความรู้จักกับ Neo Pixel WS2813 กันไปแล้ว วันนี้ผมจะมาแนะนำเรื่อง การนำ Raspberry Pi2 มาควบคุม Neo Pixel WS2812B


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.34.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ