Ascii คือ อะไร?

6 Sep 2015

Share to:

Ascii คือ อะไร?

ในระบบคอมพิวเตอร์ จะใช้เลขฐานสอง(0, 1) ในการทํางาน เลขฐานสอง 1 ตัว เราจะเรียกว่า 1 bit สามารถแทนสถานะได้ 2 สถานะ คือ 0 กับ 1 ถ้าเรานําเลขฐานสองมาร่วมกัน 8 ตัว(8 bit) เราจะเรียกว่า 1 Byte สามารถใช้แทนสถานะได้ถึง 256 สถานะ(2 ยกกําลัง 8) Ascii เป็นการกําหนดมาตรฐานเพื่อใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และอุกปรณ์ Digitall ต่างๆ โดยนําเลขฐานขนาด 1 Byte มาแทนตัว

อักษรต่างๆ เพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจได้ง่าย(ดูได้จากรูป Ascii table) เช่น ถ้าเราพิมพ์ตัว A คีย์บร์อดจะส่งข้อมูลเป็นเลขฐานขนาด 1 Byte ไปให้คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็จะนําไปประมวลผลต่อไป

Ascii table

Image

ascii table

ประวัติความเป็นมาของ Ascii

รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (ETX - end of text) เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128 ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขระ

ข้อมูลจาก wikipedia


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.19.0 |  Privacy policy |  status | 

            วงแหวนเว็บ