คําสั่ง Docker ที่ควรรู้

30 Jan 2017

Share to:

สําหรับบทความนี้ จะรวบรวม คําสั่ง docker ที่ควรรู้ คําสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ ผมจะไม่ลงลึกถึงรายละเอียดของแต่ละคําสั่งมานะครับ

คําสั่งของ docker

1. docker ls เป็นคําสั่งดูว่าขณะนี้มี  container ตัวไหนรันอยู่บ้าง รูปแบบการใช้คําสั่งคือ

docker ls

2. docker images เป็นคําสั่งดูว่าในเครื่องเรามี Image อะไรอยู่บ้าง หมายถึง image ที่ pull มาอยู่บนเครื่องเราแล้ว วิธีใช้คือ

docker images

3. docker rm เป็นทําสั่งสําหรับลบ container รูปแบบการใช้งานทําสั่งคือ

docker rm [ชื่อ หรือid ของ container]

***จะลบได้เฉพาะ container ที่ stop อยู่เท่านั้น ถ้าต้องการลบ container ที่กําลังรันอยู่ ให้เพิ่ม option -f เข้าไป 4. docker rmi เป็นคําสั่งลบ image ที่อยู่ในเครื่อง รูปแบบคําสั่งคือ

docker rmi [ชื่อ หรือid ของ image ที่จะลบ]

***จะไม่สามารถลบ Image ที่มี container รันอยู่ได้ 5. docker run เป็นคําสั่ง run container รูปแบบการใช้งานคําสั่งคือ

docker run [option] [ชื่อ image] [command]
  • [option] คือ option ต่างๆ เช่น -p คือ map port ฯลฯ
  • [ชื่อ image] คือ ชื่อของ image ที่เราจะ run
  • [connamd] คือ command ที่ต้องการทํา เมื่อ container start แล้ว

ตัวอย่าง

docker run --name some-nginx -v /some/content:/usr/share/nginx/html:ro -d nginx

6. docker start คําสั่ง start container วิธีใช้คือ

docker start [ชื่อ container]

7. docker stop คําสั่ง stop container

docker stop [ชื่อ container]

5. docker stats คําสั่งใช้ดูการใช้ Resource ของแต่ละ Containner (CPU, RAM) รูปแบบการใช้คือ

docker stats

คําสั่งของ docker compose

1. docker-compose ps คําสั่งสําหรับดูว่าขณะนี้มี container ตัวไหนรันอยู่บ้าง (ใน docker-compose ที่เราทํางานอยู่) วิธีใช้คือ

docker-compose ps

2. docker-compose up คําสั่งสําหรับ start container ทั้งหมดใน docker-compose ที่เราทํางานอยู่ รูปแบบการใช้งานคือ

docker-compose up [option]

ตัวอย่าง ถ้าต้องการรัน conatiner และ build image ด้วย ใช้คําสั่งนี้

docker-compose up -d --build

3. docker-compose down คําสั่ง stop พร้อมทั้งลบ container ด้วย (ใน docker-compose ที่เราทํางานอยู่) รูปแบบคําสั่งคือ

docker-compose down

4. docker-compose stop คําสั่ง stop container ใน docker-compose ที่เราทํางานอยู่ รูปแบบคําสั่งคือ

docker-compose stop

คําสั่งของ docker swarm 1. docker swarm init เป็นคําสั่งสําหรับสร้าง docker swarm menager (leader) รูปแบบคําสั่งคือ

docker swarm init

2. docker node ls เป็นคําสั่งสําหรับดู node ทั้งหมดใน swarm วิธีใช้คือ

docker node ls

3. docker node rm เป็นคําสั่งที่ใช้ ลบ node รูปแบบคําสั่งคือ

docker node rm [ชื่อ node]

4. docker swarm join เป็นคําสั่งที่ทําให้เครื่องของเราไป join ใน swarm วิธีใช้คือ

docker swarm join [token ได้จาก manager] [ip ของเครื่อง manager]

5. docker swarm join-token เป็นคําสั่งใช้ get token manager หรือ get token worker เพื่อเป็น token ให้เครื่องอื่นๆมา join ใน swarm รูปแบบคําสั่งคือ

docker swarm join-token [manager/worker]

6. docker service create เป็นคําสั่งที่ใช้สร้าง service รูปแบบการใช้คําสั่งคือ

docker service [option] [image name] [command]
  • [option] คือ option ต่างๆ เช่น -p คือ map port ฯลฯ
  • [image name] คือ ชื่อของ image ที่เราจะ run
  • [connamd] คือ command ที่ต้องการทํา เมื่อ service start แล้ว

ตัวอย่าง

docker service create --replicas [จํานวน task ที่ต้องการ] --name [ชื่อ service] -p [port] [image ที่ต้องการ]

7. docker service ls เป็นคําสั่งสําหรับใช้ดูว่าตอนนี้มี service ตัวไหนรันอยู่บ้าง วิธีใช้คือ

docker service ls

8. docker service ps เป็นคําสั่งดู task ของ service

docker service ps [service name]

9. docker service rm คําสั่งลบ service วิธีใช้คือ

docker service rm

10. docker service scale เป็นคําสั่ง scale task หรือ container

docker service scale [ชื่อ service]=[จํานวน task หรือ container ที่ต้องการ]

11. docker swarm leave คําสั่งเอาเครื่องตัวเอง (เครื่องที่รันคําสั่งนี้) ออกจาก swarm วิธีใช้คือ

docker swarm leave

เทคนิคการใช้คําสั่ง docker เพิ่มเติม

1. ลบ container ทั้งหมดในคําสั่งเดียว วิธีการลบ container ทั้งหมดภายในคําสั่งเดียวคือ

docker rm $(docker pa -a -q)

2. ลบ image ทั้งหมดในคําสั่งเดียว วิธีการลบ image ทั้งหมดภายในคําสั่งเดียวคือ

docker rmi $(docker images -q)

Image

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ docker.com

Suggestion blogs

การอ่านสิทธิ์เข้าใช้งาน file, Directory ใน ubuntu

ระบบ File และ Directory ใน Ubuntu จะมีการกําหนดสิทธิ์การ Read, Write และ Execute ของ User โดยจะสามารถดูได้จากคําสั่งนี้ls -lจะได้ออกมาตามรูปด้านล่างImageจากรูปจะแสดงผลออกมาเป็นข้อมูลต่างๆ แต่ในบทความนี้เราจะสนใจแค่ 2 คอลัมน์ คือในกรอบสีแดง และสีเขียว รายละเอียดมีดังนี้

Daylight Saving Time คืออะไร

Daylight Saving Time คือ การปรับเวลาให้เร็วขึ้นหรือช้าลง เนื่องจากแกนโลกมีความเอียงเล็กน้อย ทําให้ในประเทศที่อยู่แถบซีกโลกเหนือมีช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนมีระยะเวลายาวนานไม่เท่ากันในแต่ละเดือน ในบางเดือนช่วงเวลากลางวันยาวนานมากอาจจะยาวไปถึง 3-4 ทุ่ม ก็ยังสว่างอยู่ ซึ่งต่างจากประเทศที่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรหรือเขตร้อนอย่างไทยเรา

BMS (Battery Management System) คืออะไร

BMS ย่อมาจาก Battery Management System หรือถ้าแปลเป็นไทยก็คือ ระบบจัดการแบตเตอรี่ ซึ่งจะทําหน้าที่ในการ Maintain balance cell battery เพื่ออัดไฟให้เต็มมากที่สุด และยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ หากยังนึกภาพไม่ออก ผมจะยกตัวอย่างดังนี้ครับ เมื่อเรานําแบตเตอรี่หลายๆก้อนมาต่อกันแบบอนุกรมเพื่อให้ได้แรงดันไฟฟ้าตามที่เราต้องการแบบในรูป


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.46.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ