ก่อนอื่นมาทําความรู้จักกับ Tor hidden service กันก่อน Tor hidden service เป็นการซ่อน Service หรือ Website ไม่ให้สามารถเปิดได้ด้วยเครือข่าย Internet ทั่วไป หรือไม่สามารถค้นหาผ่าน Search engine ทั่วไปได้ เรียกกันว่า Deep web และ Dark web โดยจะซ่อน Service หรือ Website ไว้ในเครือข่าย Tor ซึ่งจะสามารถเข้าได้ผ่าน Tor browser และ Url จะลงท้ายด้วย .onion รายละเอียดสามารถกลับไปอ่านจากบทความเรื่อง Deep web และ Dark web ด้านมืดของ Internet
เริ่มต้นทํา Host Tor hidden service ได้ดังนี้ อันดับแรกให้ติดตั้ง nginx และ Config ให้เรียบร้อย โดยเปิด Port 80 ไว้ ในบทความนี้ผมจะไม่อธิบายการติดตั้ง nginx ถ้าท่านใดยังไม่ทราบให้กลับไปอ่านที่บทความนี้ก่อนครับ ติดตั้ง Nginx เพื่อใช้งานร่วมกับ Apache2 ในตอนนี้เครื่อง Server ของเราได้มี Web server รันอยู่ที่ Port 80 แล้ว ขั้นตอนในส่วนที่สองคือ ติดตั้ง Tor และ Config ให้ชี้ หรือ Map Port มายั้ง Web server (nginx) ที่เรารันไว้ในขั้นตอนแรก ติดตั้ง Tor ด้วยคําสั่งนี้
sudo apt-get install tor -y
Config Tor โดยแก้ไขไฟล์ “torrc” ด้วยคําสั่ง
sudo nano /etc/tor/torrc
เพิ่มค่า Config ดังนี้
HiddenServiceDir /var/lib/tor/hidden_service/
HiddenServicePort 80 xxx.xxx.xxx.xxx:80
คําอธิบาย
ในบทความนี้ผมใช้ nginx เป็น Web server โดยเปิด Port 80 ดังนั้น Config ของผมจะได้ดังนี้
HiddenServiceDir /var/lib/tor/hidden_service/
HiddenServicePort 80
Restart Tor
service tor restart
ในการเข้าใช้งาน Service หรือ Web server จําเป็นต้องทราบ Domain ดังนั้นเราสามารถดู Domain ของ Server ได้จาก Path “/var/lib/tor/hidden_service/” โดยอ่าน File ที่ชื่อว่า “hostname” ใชั cat อ่านก็ได้ดังนี้
cat /var/lib/tor/hidden_service/hostname
จะได้ผลลัพธ์ตัวเอย่างเช่น
plokimjfk8ikflor.onion
นี่คือ Domain บนเครือข่าย Tor ซึ่งเราสามารถเข้าใช้งาน Service หรือ Website ได้ ให้เราเปิด Tor browser แล้วเปิดไปที่ Address นี้ จะเห็นหน้าจอของ ของเว็บเราขึ้นมาครับ ประมาณนี้
***บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Tor hidden service ให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น ไม่สนับสนุนให้ใครก็ตามนําไปใช้ทำกิจกรรมผิดกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น
วิธีการ share file ในระบบ ubuntu ให้กับ windows ผ่านระบบ network โดยใช้ software samba มีขั้นตอนคือ
NOT gate เป็นวงจร digital ชนิดหนึ่ง โดย input ที่ป้อนให้กับวงจรในแต่ละขา จะเป็นได้สองสถานะคือ High, Low หรือ 0, 1
อาร์เรย์เปรียบเสมือนช่องสีเหลี่ยมมาเรียงต่อๆกันเป็นแถวยาว โดยแต่ละช่องจะเป็นที่สําหรับเก็บข้อมูล จํานวนของช่องที่มาเรียงต่อกันก็คือขนาดของอาร์เรย์ ในแต่ละช่องจะเป็นที่ข้อมูลได้ 1 ตัวตามชนิดของอาร์เรย์ที่ประกาศไว้