วิธีใช้ Props children ใน react

22 Feb 2018

Share to:

สวัสดีครับ บทความนี้จะเป็นการเรียนรู้และ ทําความเข้าใจในส่วนของเรื่อง Props children ใน React รวมไปถึงวิธีการใช้งานในแบบต่างๆ

Props children คืออะไร

Props Children คือ เป็น Props พิเศษที่ถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อ Component ใดๆมี  Element ลูก ดังตัวอย่างนี้

Image

ในตัวอย่างจะเห็นว่าใน MovieBrowser Component มี Element อื่นๆ อยู่ภายใน(Movie Component) ซึ่งเราสามารถเข้าถึง Element เหล่านี้ได้จาก Props พิเศษที่ชื่อว่า Children ใน MovieBrowser Component เรามาลองสร้าง Component ที่มี Element ลูก ตามตัวอย่างนี้ โดยผมตั้งโจทย์ว่า จะสร้าง Component ที่รับ Element ลูกมา แล้วนํามาแสดงผล ใน Component ของตัวเอง จะได้แบบนี้

import React, { Component } from 'react';

export default class MovieBrowser extends React.Component {
    render() {
      return<div>
          {this.props.children}
        </div>
    }
}

จาก Code ด้านบนเราสามารถเข้าถึง Element ลูกได้จาก **this.props.children **ซึ่งตัวแปรนี้จะถูกสร้างขึ้นอัตโนมัติ เมื่อมี Element ลูก โดยจะเก็บ Object ของ Element ลูกไว้ทั้งหมด Elememt ลูก มี Elememt เดียว  หรือหลาย Elememt  ก็ได้ครับ เมื่อนํา Component มาเรียกใช้ จะเรียกใช้ตามภาพด้านล่าง

Image

เมื่อรันโปรแกรม จะได้คําว่า “My movie” แสดงบนหน้าจอ

Multiple children

ในกรณีที่ภายใน Component มีหลาย Element แบบนี้

<MovieBrowser>
    <div>My Movie 1</div>
    <div>My Movie 2</div>
</MovieBrowser>

เราสามารถเข้าถึง Element เหล่านั้นได้ตามตัวอย่างด้านล่าง

import React, { Component } from 'react';

export default class MovieBrowser extends React.Component {
    render() {
      return<div>
          {this.props.children[0]}
        </div>
    }
}

จาก Code เราสามารถเข้าถึง element ลูก แต่ละตัวได้แบบ Array

การเข้าถึง Props ใน Element ลูก

ถ้าเราต้องการจะเข้าถึง props ของ Element ลูก แบบนี้

Image

สามารถเข้าถึงตรงๆแบบนี้ได้เลยครับ

Image

เราได้เรียนรู้การใช้งานพื้นฐานกันไปแล้ว ลําดับต่อไปจะมาเรียนรู้การใช้งาน React.Children เพื่อจักการกับ Element ลูก

React.Children.map() และ React.cloneElement()

React.Children.map() เป็น Function สําหรับ loop ตามจํานวนของ Element ลูก ส่วน React.cloneElement() เป็น Function สําหรับ Clone Element ซึ่งเราสามารถเพิ่มเติม Props ให้กับ Element ที่เรา Clone มาได้ มาดูตัวอย่างการใช้งานของทั้งสอง function นี้ โดยผมตั้งโจทย์ว่า สร้าง component เพื่อ เปลี่ยน style ให้กับ Element ลูก ตาม code ด้านล่าง

import React, { Component } from 'react';

export default class MovieBrowser extends React.Component {
    render() {
      return<div>
          {
            React.Children.map(this.props.children, child => (
                React.cloneElement(child, {
                    style: {
                        backgroundColor: 'salmon',
                        color: 'seagreen',
                    }
                })
            ))
          }
        </div>
    }
}

นํา Component ไปใช้

<MovieBrowser>
    <div>Mad Max: Fury Road</div>
    <div>Harry Potter & The Goblet Of Fire</div>
</MovieBrowser>

จะได้ผลแบบนี้

Image

React.Children.forEach()

มีการทํางานคล้ายๆกับ React.Children.map() แต่จะไม่ Return value ออกมา คือ loop ตามจํานวนของ Element อย่างเดียว

React.Children.count()

React.Children.count() จะ Return จํานวน ของ Element ลูกทั้งหมดออกมา

React.Children.only()

React.Children.only() มีไว้ทําหรับตรวจสอบว่า มี Element ลูกเดียว Element เดียวหรือไม่

React.Children.toArray()

React.Children.toArray() เป็น function แปลงเป็น array โดยจะเพิ่ม kay มาด้วย จะทําให้เราจัดการ เรียงลําดับ หรือการแสดงผลได้ง่ายขึ้น

Suggestion blogs

ทําความรู้จักกับ Neo Pixel WS2812B

Neo Pixel WS2812B  คืออะไร?Neo Pixel WS2812B คือ หลอด LED ที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในจะประกอบไปด้วย Chip เบอร์ WS2812B และ LED ขนาดเล็กๆ 3 สี คือ RGB (Red, Green, Blue) โดยที่ Chip WS2812B จะทําหน้าที่ควบคุมการผสมสีของ LED RGB ให้เป็นสีต่างๆได้ถึง 16 ล้านสี หน้าตาจะประมาณรูปด้านล่าง

สร้าง Tagged Template Literals กันดีกว่า

Template Literals คือ ความสามารถหนึ่งของ javascript ที่เราสามารถใช้ String ภายในเครื่องหมาย grave accent (อยู่ที่ปุ่มเปลี่ยนภาษา) ได้เช่น

Install FTP and Config to use SSL/TLS (SFTP) in ubuntu

ก่อนอื่นมาดูกันว่า FTP คืออะไร FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้ รับ-ส่ง ไฟล์ระหว่าง server และ client ส่วน SFTP ก็เหมือนกับ FTP แต่จะเพิ่มกระบวนการ SSL/TLS เพื่อให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.19.0 |  Privacy policy |  status | 

            วงแหวนเว็บ