Cover image

จริงหรือ? ที่สามารถกดเงินจาก ATM ด้วยรหัส ATM มากกว่า 1 ชุด

25 Jun 2019

Share to:

สวัสดีครับ บทความนี้ก็เป็นเรื่องสั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานตู้ ATM ซึ่งก็ตามหัวข้อนะครับ เราสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ด้วยรหัส ATM อื่นๆ นอกเหนือจากที่เราตั้งไว้ในตอนแรกที่เราทําบัตร ATM

คืออย่างนี้ครับ ผมได้ไปกดเงินจากตู้ ATM แห่งหนึ่ง แต่บังเอิญผมดันกดรหัสผิดในตอนแรก โดยปกติเมื่อกดรหัสผิดในตอนแรก ATM จะยังยอมให้เราทํารายการต่อได้ จนถึงขั้นตอนสุดท้าย ATM จึงจะขึ้นถามรหัสที่ถูกต้องจากเราอีกครั้ง ผมจึงทํารายการกดเงินต่อโดยไม่ได้ยกเลิก พอถึงขั้นตอนสุดท้ายปรากฏว่าเงินออกมาทันทีโดยไม่ได้ถามรหัสที่ถูกต้องจากผมเลย ผมจึงทดสอบการกดรหัสในรูปแบบต่างๆ จึงสรุปได้ว่า

บัตร ATM ที่เป็นแบบรหัส 4 หลัก เมื่อนําไปกดกับตู้ ATM ที่ไม่ได้จํากัดจํานวนหลักของรหัสที่ป้อนเข้าไป(ใส่ 4 หลัก หรือ 6 หลักก็ได้) เราสามารถจะกดเงินออกมาได้โดยใช้รหัส 4 หลัก หรือมากกว่า 4 หลักก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่า รหัสที่กดนั้น 4 ตัวแรกจะต้องเป็นรหัสที่ถูกต้อง นั่นหมายความว่า ถ้ารหัส ATM ของเราคือ “1234” เราจะกดเงินออกมาได้ด้วยรหัสดังต่อไปนี้

  • 1234
  • 1234000
  • 1234567
  • 1234888
  • 1234111
  • ฯลฯ

จากตัวอย่างด้านบนหมายความว่าเราสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ด้วยรหัสผ่านมากกว่า 1 ชุด เปรียบเสมือนว่าประตูหน้าบ้านของเราสามารถเปิดได้ด้วยกุญแจดอกอื่นๆนอกจากดอกที่เราถืออยู่

ถ้าเราลองเปรียบเทียบการยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่านจากบริการอื่นๆ เช่น Email, Facebook, Line ฯลฯ ทั้งหมดนี้จะยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานด้วยรหัสผ่านเพียงชุดเดียวเท่านั้น

แต่ไม่ต้องตกใจครับ ถึงจะเข้าได้ด้วยรหัสที่มากกว่า 1 ชุด ก็ตาม ระบบก็ยังมีความปลอดภัยเหมือนเดิม (เท่าที่รหัส 4 หลักจะทําได้) ถ้ามีผู้ที่ต้องการสุ่มรหัสผ่าน เค้าจะต้องสุ่มทั้งหมด 10,000 ครั้ง แต่ระบบ ATM ให้ใส่รหัสผิดไม่เกิน 3 ครั้ง ถ้าเกิน 3 ครั้ง บัตรจะใช้งานไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะสุ่มรหัสถูกได้

ในความคิดเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า การยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใจงานควรจจะมีรหัสผ่าน 1 ชุดเท่านั้น ไม่ว่า Input จะมีกี่หลักก็ตาม ผมจึงแจ้งไปยังธนาคารเจ้าของบัตร ทางธนาคารก็ได้ตอบกลับมาดังนี้ครับ

Image

จริงๆแล้วระบบก็ยังมีความปลอดภัยเหมือนเดิม (เท่าที่รหัส 4 หลักจะทําได้) แต่ในฐานะที่ผมเป็นผู้ใช้งานก็รู้สึกแอบตกใจเล็กๆที่มันเป็นแบบนี้ 55555

เรื่องราวก็มีประมาณนี้ครับ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะครับ :)

Suggestion blogs

ESP8266 คืออะไร?

ESP8266 คืออะไร?ESP8266 คือ โมดูล wifi ภายในมีเฟิร์มแวร์ทํางานในลักษณะ Serial-to-WiFi ที่ช่วยให้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น MCU สามารถต่อเข้ากับ internet ได้โดยใช้ port serial(ขา Tx, ขา Rx) และใช้คําสั่ง AT ในการควบคุมการทํางาน ต่อมาผู้พัฒนาได้พัฒนาเฟิร์มแวร์ NodeMcu ให้เป็น platform และใช้ภาษา LUA ในการเขียนโปรแกรม ด้วยความที่เป็น platform ที่สะดวกต่อการใช้งาน ทางผู้พัฒนาจึงจับ NodeMcu(ESP8266) ใส่เป็นบอร์ดหนึ่งใน Arduino IDE ด้วยซะเลย และได้พัฒนาให้สามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สำหรับใครที่ใช้งาน Arduino อยู่แล้วสามารถใช้งานบน Arduino IDE ได้อย่างไม่อยากครับ

Vue.js เริ่มต้น ตอน4 (Data and Methods)

สวัสดีครับ จะเป็นบทความสั้นๆนะครับ ที่เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับสอง Option นี่คือ Data และ Methods ซึ่งผมจะอธิบายไปที่ละตัวพร้อมกับยกตัวอย่างครับ ดังนี้

ตัวเก็บประจุ (CAPACITOR)

ตัวเก็บประจุ (CAPACITOR) คืออะไร?ตัวเก็บประจุหรือ คาปาซิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์อีกชนิดหนึ่ง สามารถเก็บสะสมประจุไว้ และสามารถคายประจุที่เก็บสะสมออกมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นตัวเก็บประจุจึงทำหน้าที่เก็บประจุและคายประจุ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.19.0 |  Privacy policy |  status | 

            วงแหวนเว็บ