Cover image

Arduino ตอน10 วิธีใช้ Digital input/output ใน arduino

14 Jul 2019

Share to:

สวัสดีครับ ในบทความนี้เรามาเรียนรู้การใช้งาน Input และ Output ใน Arduino ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ Arduino หรือ Microcontroller เลยก็ว่าได้

เพื่อให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจ มาลองทําตาม Workshop นี้ คือเราจะอ่านค่าจาก Digital input และส่งออกไปยัง Digital output

Step1: Digital input/output คืออะไร

Digital input/output หรือเรียกสั้นๆ Digital I/O เป็น Input/Output ที่จะมี State เป็น O หรือ 1 เท่านั้น 0 จะแทนด้วยไฟฟ้า 0 Volt และ 1 แทนด้วยไฟฟ้า 5 Volt (ระดับแรงดันจะขึ้นอยู่กับรุ่นของ Arduino)

Step2: อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • Arduino board UNO
  • LED
  • ตัวต้านทาน 1k โอห์ม
  • Witch

Step3: ต่อวงจร

ใน Workshop นี้เราจะอ่าน Digital input จาก Switch โดยมีตัวต้านทาน 1k โอห์ม Pull Down (สําหรับ ตัวต้านทาน Pull Down สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่) เชื่อมต่อที่ Input และส่งค่า Input ที่อ่านได้ไปยัง Output ที่เราเชื่อมต่อกับ LED เพื่อแสดงผล เชื่อมต่อวงจรตามรูปด้านล่างได้เลย

Image

Step4: ลงมือ Coding

int ledPin = 11;
int inPin = 7;
int val = 0;

void setup() {
  pinMode(ledPin, OUTPUT);
  pinMode(inPin, INPUT);
}

void loop() {
  val = digitalRead(inPin);
  digitalWrite(ledPin, val);
}

ตาม Code ด้านบน เรากําหนด Pin 11 เป็น Digital output และ Pinn 7 เป็น Digital input โดยการทํางานของ Code เริ่มจากอ่านค่าจาก Input มาเก็บไว้ในตัวแปร val ด้วย funtion “val = digitalRead(inPin);” หลังจากนั้นก็นําค่าที่เก็บใน val ส่งออกไปยัง Output ด้วยคําสั่ง “digitalWrite(ledPin, val);”

ผลของการทํางานคือเมื่อเรากด Switch จะทําให้ LED สว่างขึ้น และเมื่อปล่อย Switch LED ก็จะดับ ประมาณนี้

Image

โดยปกติ Digital I/O จะนําไปใช้งานได้หลากหลายเช่น Digital input อ่านค่าจาก Switch, Digital output นําไปควบคุม ปิด-เปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ฯลฯ

ขอบคุณทุกทานที่อ่าน และ Share บทความนี้ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะครับ :)

Suggestion blogs

Docker Container

สําหรับบทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Docker Container นะครับ เราจะมาดู และทําความเข้าใจกันว่า Docker Container มันคืออะไร และเกี่ยวข้องกับ Docker Image อย่างไร

change permission folder and sub folder

เปลี่ยน permission ของ f0lder และ folder ที่อยู่ภายในทั้งหมดเปลี่ยน permission ของ filder และ folder ที่อยู่ภายในทั้งหมด สามารเปลี่ยนได้ด้วยคําสั่งนี้

อาร์เรย์  (Array) คืออะไร

อาร์เรย์เป็นชนิดข้อมูลประเภทหนึ่งที่นําชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานเช่น int, char มาประยุกต์ ให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 ชุด ซึ่งจะต่างจากชนิดข้อมูลทั่วไปคือ ชนิดข้อมูลทั่วไปเมื่อประกาศมาแล้วจะเก็บค่าได้เพียง 1 ค่าต่อตัวแปร 1 ตัวเท่านั้น แต่เมื่อประกาศตัวแปรเป็นชนิดข้อมูลแบบอาร์เรย์ จะสามารถกําหนดขนาดของข้อมูลที่จะเก็บได้


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.41.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ