วิธีทําให้ ubuntu เห็น NTFS และ ทํา auto mount

6 Sep 2015

Share to:

วิธีทําให้ ubuntu เห็น NTFS และ ทํา auto mount

ในบทความนี้ผมจะมาแนะนําวิธีการทําให้ ubuntu ใช้งาน file system ที่เป็นแบบ NTFS ได้ และจะทําการ mount drive โดยอัตโนมัติ มาเริ่มกันเลยครับ

ติดตั้ง package ntfs-3g ถ้ามีอยู่แล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ

sudo apt-get update
sudo apt-get install ntfs-3g

ดู partition ในเครื่องเรา ที่เราต้องการจะ mount ด้วยคําสั่งนี้

sudo fdisk -l

จะออกมาประมาณแบบนี้

Image

ubuntu-ntfs-auto-mount ในกรณีนี้ผมจะ mount “/dev/sda”(ในรูป กรอบสีแดง) สร้างโฟลเดอร์สําหรับ mount ใน “/media” ก่อนครับ ด้วยคําสั่งนี้(ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างชื่อว่า disk1 คุณต้องการชื่ออะไรก็ตามสบายครับ)

sudo mkdir /media/disk1

แก้ไฟล์ config “/etc/fstab” ด้วยคําสั่งนี้

sudo nano /etc/fstab

เพิ่มคําสั่งนี้ที่บรรทัดสุดท้าย

/dev/sda /media/disk1 ntfs-3g auto,iocharset=utf8,uid=1000,gid=0,rw,nouser 0 0

save ไฟล์ แก้ไขไฟล์ “/etc/rc.local” ด้วยคําสั่งนี้

sudo nano /etc/rc.local

เพิ่มคําสั่งนี้ก่อนบรรทัด “exit 0”

sudo mount -a

save ไฟล์ reboot เครื่องครั้งนึงครับ หรือถ้าไม่อยาก reboot ให้ใช้คําสั่งนี้ในการทดสอบได้เลย

sudo mount -a

เสร็จเรียบร้อย ขอให้สนุกครับ :)

Suggestion blogs

nginx block user ที่เข้าเว็บด้วย ip ของ server หรือ domain อื่นๆ

สวัสดีครับ วันนี้ผมเจอกรณีที่คนเข้าเว็บมาด้วย Domain อื่นๆ ที่ไม่ใช่ของเรา แต่เป็นหน้าเว็บเราเฉยเลย ทําให้ Domain อื่นๆของใครก็ไม่รู้ สวมรอยเป็นเว็บเราได้อย่างเช่นกรณีนี้

Structure c/c++

Sructure คือ โครงสร้างข้อมูลที่นําเอาข้อมูลที่มีชนิดข้อมูลต่างกัน แต่มีความสัมพันธิ์ของข้อมูล มาเก็บเข้าไว้ภายในโครงสร้างเดียวกัน ต้วอย่างเช่น การเก็บข้อมูลของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่จะต้องเก็บ ชื่อ, นามสกุล, แผนก, และเงินเดือน โดยการเก็บ ชื่อ, นามสกุล, แผนก, และตําแหน่งเป็น String และทําการเก็บเงินเดือนเป็นจํานวนจริง จะเขียนได้ดังนี้

LDR ตัวต้านทานปรับค่าตามแสง

LDR (Light Dependent Resistor) คือตัวต้านทานปรับค่าตามแสง ตัวต้านทานชนิดนี้สามารถเปลี่ยนความนําไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ โฟโตรีซีสเตอร์ ( Photo  Resistor)   หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์   (Photo Conductor)   เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)   ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ ( Cds : Cadmium Sulfide)   หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ ( CdSe : Cadmium Selenide)   ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา โครงสร้างของ LDR


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.34.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ