รีเลย์ relay

20 Jun 2016

Share to:

รีเลย์คืออะไร?

รีเลย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็น switch ตัด-ต่อ วงจรโดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า การที่จะทำให้รีเลย์ทำงานจะต้องจ่ายไฟให้กับรีเลย์ตาม spec ที่ระบุไว้ เมื่อจ่ายไฟให้กับรีเลย์ หน้าสัมผัสภายในรีเลย์จะสัมผัสกันทำให้เป็นวงจรปิด แต่ถ้าหยุดจ่ายไฟ หน้าสัมผัสภายในรีเลย์จะแยกออกจากกันทำให้เป็นวงจรเปิด ตามรูป

Image

รีเลย์ รีเลย์ก็จะมีด้วยกันหลายแบบโดยแต่ละแบบก็จะมีขนาดของการทนกระแสไฟฟ้าและแรงดัน แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ควบคุม เช่น รีเลย์ขนาด 5V

นำรีเลย์ไปใช้ทำอะไร

โดยปกติแล้วรีเลย์จะนำไปใช้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แรงดัน และกระแสไฟฟ้าสูงๆ โดยวงจรที่ใช่ควบคุมเป็นวงจรที่ใช้ไฟตำ่ๆอย่างพวกไมโครคอนโทลเลอร์ เช่น ใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ควบคุมการ ปิด-เปิด พัดลม ตัวอย่างวงจรรีเลย์

Image

วงจรรีเลย์ สังเกตุดูดีๆจะพบว่ามีไดโอดต่อคร่อมที่รีเลย์ด้วย สาเหตุที่จะต้องต่อไดโอดก็เพราะ ภายในรีเลย์จะมีขดลวดสำหรับสร้างแม่เหล็กไฟฟ้า เจ้าขดลวดนี่แหละครับตัวมันจะมีคุณสมบัติคือ เมื่อจ่ายไฟให้กับตัวมันมันจะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา แต่เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้า สนามแม่เหล็กจะยุบตัวอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนไปเป็นกระแสไฟฟ้าย้อนกลับออกมาโดยจะมีขั้วตรงข้ามกับกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้ขดลวดในตอนแรก ถ้าเราต่อไดโอดคร่อมตรงขดลวดทำให้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับออกมาจะไหลผ่านตัวไดโอดลงกราว จะไม่ไหลกลับไปทำให้วงจรไมโครคอนโทลเลอร์หรือวงจรที่ต่อร่วมกันเกิดความเสียหาย

Image

รีเลย์

Suggestion blogs

Go EP.8 Go Channel Select Multiple Communication Operations

สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.8 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Channel Select Multiple Communication Operationsสําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.7 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.7 Go Unit Testingในบทความก่อนหน้านี้เราได้เรียนรู้เรื่องการใช้งาน Go Channel กันไปแล้ว จะเห็นว่าถ้าเราต้องการส่งข้อมูลมากกว่า 1 Channel อาจจะทําเกิด blocking การทำงาน เมื่อ Channel ใด Channel หนึ่งไม่มีการรับส่งข้อมูล หรือไม่สามารถส่งข้อมูลได้อีก สิ่งที่จะมาช่วยให้โปรแกรมของเราทํางานต่อไปได้ก็คือ Select statement เรามาดูวิธีการใช้งานตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

ชนิดของตัวแปรใน Arduino ที่ใช้บ่อยๆ

ตัวแปร คือ ที่สําหรับเก็บข้อมูล เพื่ออ้างถึงภายในโปรแกรม ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้นจะถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ และมีขนาดที่แตกต่างกัน โดยเราสามารถประกาศหรือกําหนดตามข้อมูลที่เราต้องการจะเก็บ

Raspberry Pi ฉบับเริ่มต้น

เรามาทําความรู้จักกับ Raspberry Pi กันก่อนว่ามันคืออะไร มันทําอะไรได้บ้าง


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.19.0 |  Privacy policy |  status | 

            วงแหวนเว็บ