เริ่มต้นใช้งาน NodeMcu ESP8266 ด้วย Arduino IDE

5 Aug 2016

Share to:

ในบทความที่แล้วเราได้ทําความรู้จักกับ ESP8266 กันแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการใช้งาน ESP8266 ด้วย Arduino IDE โดยจะใช้ ภาษา c/c++ ในการเขียนโปรแกรม

ผมจะยกตัวอย่างการเพิ่มบอร์ด ESP8266 ใน Arduno IED และการเขียนโปรแกรมไฟกระพริบ โดยเครื่องมือที่ต้องใช้คือ

  • NodeMcu(ESP8266) ESP-12e
  • Arduino IDE

เริ่มแรกเปิดโปรแกรม Arduino IED และเลือกเมนู File—>Preferenes

Image

blink-led ในหน้าต่าง Preferences หัวข้อ additional Boards Manager URLs: ให้ใส่ “http://arduino.esp8266.com/stable/package\_esp8266com\_index.json” แล้วกดปุ่ม “ตกลง” ตามรูปด้านล่าง

Image

blink-led เลือกเมนู Tools—>Board:“xxxxx”—>Boards Manager…

Image

blink-led ในหน้าต่าง Boards Manager เลือก Type เป็น Contributed(หมายเลข 1) แล้วกด install esp8266 by ESP8266 Community

Image

blink-led รอจนติดตั้งเสร็จสิ้น

Image

blink-led ปิดโปรแกรม Arduino IDE แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ จะเห็นวามี Board ESP8266 เพิ่มขึ้นมา ให้เลือกตาม Board ที่เราต้องการใช้งาน

Image

blink-led เสร็จสิ้นการติดตั้ง Board ESP8266 ต่อมาเรามาเขียนโปรแกรมแรกกัน คือโปรแกรม ไฟกระพริบ(Blink LED) เริ่มแรก เสียบ NodeMcu เข้ากับ Computer

Image

blink-led เข้าโปรแกรม Arduino IDE แล้วเปิดตัวอย่างโปรแกรมโดยเข้าที่ File—>Examples—>esp8266—>Blink

Image

blink-led จะพบกับตัวอย่าง Code ให้เรา compile(หมายเลข 1) แล้วโปรแกรมลง ESP8266(หมายเลข 2) ได้เลยครับ

Image

blink-led เมื่อโปรแกรมลง ESP8266 เสร็จแล้ว ไฟ LED บน board จะกระพริบ ดูวีดีโอตัวอย่างผลลัพธ์

Suggestion blogs

C++ OOP การสร้าง Pointer Object ของ Class

จากบทความ C++ OOP การสร้าง Class และการใช้งาน Class ผมอธิบายถึงการสร้าง Object แบบ Stack แต่ในบทความนี้ผมจะอธิบายเรื่องการสร้าง Object โดยใช้ Pointer ข้อแตกต่างกันคือ การสร้าง Object แบบ Stack จะคล้ายๆกับเราสร้างตัวแปรขึ้นมาตัวนึงเมื่อใช้งานเสร็จหรือจบโปรแกรม ระบบจะคืน memory หรือทําลาย Object นั้นทิ้งให้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าสร้าง Object แบบ Pointer จะไม่ทําลาย Object ให้เราเมื่อจบโปรแกรม เราจะต้องเป็นคนทําลาย Object เอง ทําสั่งที่ใช้ ทําลาย Object คือ "delete" ตามด้วย Object ที่ต้องการลบ _ถ้าเราไม่ลบ Object ที่เราสร้างขึ้น ระบบจะไม่สามารถเข้าใช้งาน memory ในส่วนนั้นได้ ทําให้เกิด memory leak _

Go EP.7 Go Unit Testing

สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.7 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Unit Testing ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสําคัญในการพัฒนาโปรแกรมมากๆครับสําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.6 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.6 Go Channelมาเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

Arduino ตอน2 ส่วนประกอบของ Arduino Board

สวัสดีครับ สําหรับการเริ่มต้น Arduino เราจําเป็นจะต้องรู้จักส่วนต่างๆของ Arduino กันก่อน เพื่อเราจะได้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง และไม่ทําให้ Arduino Board เกิดความเสียหาย


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.34.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ