เป็นสัญญาอนุญาตที่ช่วยให้เจ้าของผลงาน หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ แต่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ โดยการแสดงสัญญาอนุญาตที่ผลงานของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ
แสดงที่มา(by) ความหมาย คุณยินยอมให้ผู้อื่นคัดลอก แจกจ่าย จัดแสดง และเผยแพร่งานของคุณ (รวมทั้งงานที่ดัดแปลงจากมัน) – แต่ก็ต่อเมื่อพวกเขาประกาศด้วยว่างานนั้นเป็นของคุณ
ไม่ใช้เพื่อการค้า(nc) ความหมาย คุณยินยอมให้ผู้อื่นคัดลอก แจกจ่าย จัดแสดง และเผยแพร่งานของคุณ (รวมทั้งงานที่ดัดแปลงจากมัน) – แต่สำหรับจุดประสงค์ที่ไม่ใช่เพื่อการค้าเท่านั้น
อนุญาตแบบเดียวกัน(sa) ความหมาย คุณยินยอมให้ผู้อื่นแจกจ่ายงานดัดแปลง ด้วยสัญญาอนุญาตที่เหมือนกับที่ใช้กับงานของคุณเท่านั้น
ไม่ดัดแปลง(nd) ความหมาย คุณยินยอมให้ผู้อื่นคัดลอก แจกจ่าย จัดแสดง และเผยแพร่งานของคุณ เฉพาะงานที่เหมือนต้นฉบับทุกประการเท่านั้น ไม่ใช่งานที่ถูกแก้ไขดัดแปลง วิธีใช้งาน สามารถนําสัญญาอนุญาตเหล่านี้มาใช้ร่วมกัน ตัวอย่างคือ
อ้างอิงแหล่งที่มา(CC-BY)
อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)
อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)
อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA)
อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง (CC-BY-NC-ND) เลือกสัญญาอนุญาตที่ต้องการได้ที่ creativecommons.org/choose/
ที่มาของข้อมูล www.learn.in.th
สวัสดีครับจากบทความตอนที่แล้ว "เริ่มต้นใช้ Docker Swarm" เราได้เรียนรู้พื้นฐานการใช้งาน Docker Swarm กันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาต่อยอดโดยนํา Docker Compose มาใช้ใน Docker Swarm เพราะในงานจริงเราจะได้ทํางานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ก่อนที่จะอ่านบทความนี้ควรจะต้องมีความรู้ในเรื่องของ Docker Swarm และ Docker Compose ก่อน กลับไปอ่านได้ที่นี่
ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เปิดเผยสู่สาธารณะหรือเรียกกันว่า Surface Web เพียง 4% ซึ่งสามารถค้นหาผ่าน Search engine ทั่วไปได้เช่น google ฯลฯ แต่ที่เหลือ 96% เป็นเว็บไซต์ที่ซ่อนตัวอยู่ ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีปกติ หรือเรียกกันว่า Deep web และ Dark web ความแตกต่างระหว่าง Surface Web, Deep web และ Dark web คือ
สวัสดีครับ ก่อนอื่นเรามาทําความรู้จักกับ Raspberry pi zero กันก่อน Raspberry pi เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น แต่ในบทความนี้เราพูดถึงรุ่น Raspberry pi zero เป็นรุ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด และราคาเพียง $5