เป็นคําสั่งที่ใช้เลือกทําโดยจะพิจารณาจากเงื่อนไขที่กําหนด
คําสั่ง if
รูปแบบการใช้คําสั่ง
if( เงื่อนไข ){
คําสั่ง 1;
}
คําสั่งที่ 2;
ถ้าเงื่อนไขที่กําหนดเป็นจริงแล้ว คําสั่งต่างๆที่อยู่ในบล็อคของ if ก็จะได้รับการประมวลผล ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 คําสั่ง แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ คําสั่งที่อยู่ภายในบล็อคของ if จะไม่ได้รับการประมวลผล คือจะข้ามไปทําคําสั่งที่อยู่ถัดจากบล็อค if ทันที
คําสั่ง if-else
รูปแบบคําสั่ง
if( เงื่อนไข ){
คําสั่งที่ 1;
}else{
คําสั่งที่ 2;
}
คําสั่งที่ 3;
เป็นคําสั่งที่ตรวจสอบเงื่อนไขสมบูรณ์ขึ้น โดยถ้าตรวจสอบเงื่อนไขของคําสั่ง if แล้วเป็นเท็จจะเข้าไปทําคําสั่งในบล็อคของ else แต่ถ้าตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงจะไปทําคําสั่งในบล็อคของ if เมื่อตรวจสอบและทําตามเงือนไขเรียบร้อยแล้วโปรแกรมจะมาทําคําสั่งถัดจาก if-else ต่อไป (คําสั่งที่ 3)
คําสั่ง if ซ้อน if (nested if)
รูปแบบคําสั่ง
if( เงื่อนไขที่ 1 ){
คําสั่งที่ 1;
}else if( เงื่อนไขที่ 2 ){
คําสั่งที่ 2;
}else if( เงื่อนไขที่ 3 ){
คําสั่งที่ 3;
}else{
คําสั่งที่ 4;
}
คําสั่งที่ 5;
การใช้คําสั่ง if ซ้อน if จะทําให้เงื่อนไขสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถตรวจสอบได้หลายเงื่อนไข จากรูปโปรแกรมจะทําการตรวจสอบเงื่อนไขที่ 1 ถ้าเป็นเท็จก็จะไปตรวจสอบเงื่อนไขที่ 2 ถ้าเป็นเท็จอีกก็จะไปตรวสอบเงื่อนไขที่ 3 ถ้าเป็นเท็จจะทําคําสั่งที่ 4 ถ้าหากเงื่อนไขใดเป็นจริงก็จะทําตามคําสั่งในเงื่อนไขนั้นๆ
คําสั่งเงื่อนไข switch-case
รูปแบบคําสั่ง
switch ( ตัวแปร/นิพจน์ที่จะตรวจสอบ ) {
case ค่าที่ 1 :
คําสั่งที่ 1;
break;
case ค่าที่ 2 :
คําสั่งที่ 2;
break;
case ค่าที่ 3 :
คําสั่งที่ 3;
break;
default :
คําสั่งที่ 4;
}
เป็นคําสั่งที่ใช้เลือกทําง่านคําสั่งต่างๆโดยจะพิจารณาจากค่าของตัวแปร หรือนิพจน์ที่กําหนดว่าตรงกับกรณี (case) ใด ถ้าคําสั่ง switch ตรวจสอบค่าของตัวแปร หรือนิพจน์ที่กําหนดแล้วพบว่าตรงกับ case ใด ก็จะทํางานตามคําสั่งที่อยู่ภายใต้ case นั้น หากพบว่าไม่ตรงกับ case ใดเลย จะเข้าสู่การทํางานของ default ถ้าไม่มีส่วนของ default ก็จะไม่ทําสําสั่งใดๆเลย