อาร์เรย์เปรียบเสมือนช่องสีเหลี่ยมมาเรียงต่อๆกันเป็นแถวยาว โดยแต่ละช่องจะเป็นที่สําหรับเก็บข้อมูล จํานวนของช่องที่มาเรียงต่อกันก็คือขนาดของอาร์เรย์ ในแต่ละช่องจะเป็นที่ข้อมูลได้ 1 ตัวตามชนิดของอาร์เรย์ที่ประกาศไว้
การประกาศอาร์เรย์ควรประกาศให้พอดีกับความต้องการ ถ้าประกาศมากเกินความจําเป็น จะทําให้สิ้นเปลืองหน่วยความจําของเครื่อง ตัวอย่างการประกาศอาร์เรย์ 1 มิติ คือ
ชนิดของข้อมูล ชื่อตัวแปร[ขนาดของอาร์เรย์]
เช่น
int a[10];
ประกาศ a เป็นตัวแปรอาร์เรย์ชนิดจํานวนเต็ม ที่มีขนาด 10 ช่อง ซึ่งในแต่ละช่องจะเก็บข้อมูลเป็นจํานวนเต็ม int ขนาด 2 byte อาร์เรย์มีขนาด 10 ช่อง ดังนั้นอาร์เรย์นี้จะใช้หน่วยความจําเท่ากับ 10*2 = 20 byte ดังรูป
เราสามารถกําหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปรอาร์เรย์ที่สร้างขึ้นมาได้ ดังนี้
char ch[3] = { 'a', 'b' };
หรือ
char ch[] = { 'a', 'b' };
จะได้ดังนี้
เราสามารถเข้าภึงตัวแปรแต่ละตัวได้โดยการกําหนด index ซึ่งจะเริ่มจาก 0 ดังตัวอย่างนี้
int a[] = {100, 400, 900};
printf("%d", a[1]);
จาก Code ด้านบนโปรแกรมจะแสดง 400 ออกมาทางหน้าจอ
สรุป
สามารถนําอาร์เรย์ ไปใช้เก็บข้อมูลที่มีลักษณะเป็นชุดๆได้ เช่นเก็บคะแนนของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อมาคํานวนเกรด ซึ่งเราจะสามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวก และยืดหยุ่นมากขึ้น