Singleton pattern

29 Aug 2016

Share to:

Singleton pattern เป็น Design pattern ที่ใช้จํากัดจํานวนของอ็อบเจกต์ที่ถูกสร้างในขณะที่โปรแกรมทํางาน จะมีประโยชน์ในกรณีที่ระบบงานต้องการบังคับให้มีแค่อ็อบเจกต์เดียวเพื่อไม่ให้เกิดการซํ้าซ้อนกันเช่น Class ที่ใช้ในการควบคุม Hardware 1 ตัว ในการควบคุม Hardware 1 ตัวถ้าสร้างอ็อบเจกต์เพื่อควบคุมขึ้นมาหลายตัวอาจจะทําให้เกิดปัญหาในการควบคุม Hardware ได้

การนํา Singleton pattern ไปใช้งาน

Singleton pattern จะถูกสร้างโดยการเขียน Class ให้ซ่อน Constructor ของ Class ทั้งหมด คือให้ Constructor ทั้งหมด เป็น private เพื่อไม่ให้ Class นี้ถูกสร้างได้จาก Class อื่นๆ หลังจากนั้นให้เราสร้าง Method ที่ทําหน้าที่สร้างอ็อบเจกต์ของ Class นี้ โดยภายใน Method นี้จะ Check ด้วยว่าถ้าอ็อบเจกต์ถูกสร้างขึ้นมาแล้วจะไม่สร้างอีกแต่จะ Return อ็อบเจกต์ที่ม่อยู่แล้วออกไปทันที ข้อควรระวังในการใช้ Singleton pattern คือการใช้งานกับ multi-threading อาจจะเกิดปัญหาได้ในกรณีที่ thread แต่ละ thread พยายามเรียก Method เพื่อสร้างอ็อบเจกต์ครั้งแรก ในเวลาเดียวกัน อาจจะทําให้เกิดอ็อปเจกต์ขึ้นมามากกว่า 1 ตัว ป้องกันโดยอนุญาตให้เพียงหนึ่ง thread เรียกเมธอดได้ในขณะใดขณะหนึ่ง

ตัวอย่างในภาษา C#

using System;
using System.Collections.Generic;
using System.Linq;
using System.Text;
using System.Threading.Tasks;

namespace SingletonExample {
    class Program {
        static void Main(string[] args) {
            singletonClass obj = singletonClass.getInstance();
            Console.WriteLine(obj != null);
            Console.ReadKey();
        }
    }

    public class singletonClass{

        //สร้างตัวแปรสําหรับเก็บ Object ของ class
        private static singletonClass _instance = null;

        //ให้ constructor เป็น private เพื่อทําให้ไม่สามารถสร้าง Object ได้
        private singletonClass() { }

        //Function สําหรับสร้าง Object และ return ออกไป
        //ในกรณีที่มีแล้วให้ return ออกไปเลย
        public static singletonClass getInstance() {

            if (_instance == null) {
                _instance = new singletonClass();
            }

            return _instance;
        }

    }

}

จากตัวอย่าง  class จะมี Method และตัวแปร ที่เป็น static ไว้สําหรับเก็บและ get ค่าของอ็อบเจกต์ เวลาเรียกใช้งาน class ก็ไม่ต้องสร้างอ๊อบเจกต์ สามารถเรียกผ่าน Static Method ได้เลย Download source code

Suggestion blogs

ซีเนอร์ไดโอด (ZENER DIODE)

ซีเนอร์ไดโอด (ZENER DIODE)ซีเนอรร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างเหมือนไอโอด คือมีสารกึ่งตัวนําชนิด P และ N มีขาสองขาเช่นเดียวกัน A และ K ความแตกต่างของ ซีเนอร์ไอโอด กับ ไดโอดธรรมดาคือ กระบวนการผลิตซีเนอร์ไอโอด จะเติมสารเจือปนลงไปในธาตุซิลิกอนมีจำนวนน้อยและจำนวนมากกว่าปรกติ พร้อมกับขบวนการผลิตเฉพาะ จึงได้ซีเนอร์ไดโอดขึ้นมาใช้งาน

Deep web และ Dark web ด้านมืดของ Internet

ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เปิดเผยสู่สาธารณะหรือเรียกกันว่า Surface Web เพียง 4% ซึ่งสามารถค้นหาผ่าน Search engine ทั่วไปได้เช่น google ฯลฯ แต่ที่เหลือ 96% เป็นเว็บไซต์ที่ซ่อนตัวอยู่ ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีปกติ หรือเรียกกันว่า Deep web และ Dark web ความแตกต่างระหว่าง Surface Web, Deep web และ Dark web คือ

Configure the Linux Firewall for Docker Swarm on Ubuntu

บทความนี้จะเกี่ยวข้องกับการ Config Linux Firewall ให้สามารถใช้งาน Docker swarm ได้ ถ้าไม่ได้ Config เราจะเจอกับ Error นี้ "Timeout was reached before node was joined. The attempt to join the swarm will continue in the background. Use the "docker info" command to see the current swarm status of your node." ในขั้นตอนการ Join Swarm เพราะว่า Docker Swarm ใช้งาน port ดังต่อไปนี้


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.41.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ