ตัวหารร่วมมาก และการนำไปใช้

7 Aug 2017,
Share: 

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) คือ ตัวหารร่วม (หรือตัวประกอบร่วม) ที่มีค่ามากที่สุด ที่นำไปหารจำนวนนับชุดใด(ตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป) ได้ลงตัว ต่อไปนี้เราจะเรียกว่าการหา ห.ร.ม. เช่น ห.ร.ม. ของ 8 และ 12 คือ 4 เพราะ 4 คือจำนวนที่มากที่สุดที่หารทั้ง 8 และ 12 ได้ลงตัว

วิธีการหา ห.ร.ม.

ตัวอย่าง จงหาห.ร.ม. ของ 4, 8 และ 12 วิธีการหา ห.ร.ม. มีด้วยกัน 3 วิธีดังนี้

1. พิจารณาตัวประกอบ ตัวประกอบของ 4 คือ 1, 2, 4 ตัวประกอบของ 8 คือ 1, 2, 4, 8 ตัวประกอบของ 12 คือ 1, 2, 3, 4, 6, 12 ตัวประกอบร่วมของ 4, 8 และ 12 คือ 1, 2, 4 ซึ่งตัวที่มากที่สุดก็คือ 4 ดังนั้น ห.ร.ม. คือ 4

2. วิธีแยกตัวประกอบ

4 = 2 x 2

8 = 2 x 2 x 2

12 = 2 x 2 x 3

เอาตัวที่ซ้ำมา ห.ร.ม. คือ 2 x 2 = 4

3. วิธีตั้งหาร

2 ) 4 8 12

_**2** ) 2 4 6

____1 2 3 ห.ร.ม. คือ 2 x 2 = 4

การนํา ห.ร.ม ไปใช้ประโยชน์

นําไปใช้ในการหาเศษส่วนอย่างตํ่า ตัวอย่าง 24 ________30 หาห.ร.ม.ของ 24 และ 30 ได้ 6 นำ 6 ไปหารทั้ง เศษ และ ส่วน 24 หารด้วย 6  = 4 30 หารด้วย 6__ 5

Suggestion blogs

LDR ตัวต้านทานปรับค่าตามแสง

LDR (Light Dependent Resistor) คือตัวต้านทานปรับค่าตามแสง ตัวต้านทานชนิดนี้สามารถเปลี่ยนความนําไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ โฟโตรีซีสเตอร์ ( Photo  Resistor)   หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์   (Photo Conductor)   เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)   ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ ( Cds : Cadmium Sulfide)   หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ ( CdSe : Cadmium Selenide)   ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา โครงสร้างของ LDR

วิธี update software ใน ubuntu

วิธี update software ใน ubuntu สามารถทําได้ด้วย 3 คําสั่งนี้

ตัวแปรในภาษาซี

ตัวแปร คือ ชื่อที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ โดยการตั้งชื่อตัวแปรนั้นจะต้องตั้งตาม กฎการตั้งชื่อ


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.51.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ