ทํา CD-ROM เก่าๆ เป็นเครื่องเล่นเพลง

17 Oct 2016,
Share: 

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านย้อนอดีตไปยังสมัยที่ CD ยังฮิตๆ กัน การดูหนัง ฟังเพลง เล่นเพลง mp3 โปรแกรมต่างๆ ก็จะถูกเก็บใน CD ทั้งนั้น แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไร บางคนอาจจะมี CD-ROM เก่าๆไม่ได้ใช้แล้วไม่รู้จะเอาไปทําอะไร เอามาทําเครื่องเล่น CD เพลงได้ครับ เดี๋ยวผมจะอธิบายวิธีการทําครับ แต่ก่อนอื่นมาดูอุปกรณ์กันก่อนว่ามีอะไรบ้าง

  1. CD-ROM
  2. Power Supply
  3. IC Regulator 7812
  4. IC Regulator 7805
  5. หม้อแปลง 12V
  6. ไดโอด 4 ตัว

ถ้ามี Power Supply อยู่แล้วไม่ต้องใช้อุปกรณ์ข้อ 3-6 เนื่องจากข้อ 3-6 จะใช้ทําวงจรจ่ายไฟให้กับ CD-ROM

เรามาดูกันก่อนว่า CD-ROM แบบไหนสามารถนํามาทําได้บ้าง ให้สังเกต 2 ข้อดังนี้

  • ด้านหน้ามีรู jack audio
  • ด้านหลังมี Analog audio

ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งแสดงว่าใช้ได้

Image

ผมจะแยกวิธีทําเป็น 2 แบบดังนี้

แบบใช้ Power Supply

สําหรับท่านที่มี Power supply อยุ่แล้วสามารนําสายตามรูปด้านล่าง (สายที่ออกมาจาก Power Sypply)มาเสียบตรง Power connector ของ CD-ROM ได้เลย

Image

สายที่มาจาก Power supply เมื่อเสียบปลั๊กไฟของ Power supply แล้ว Power supply จะยังไม่ทํางาน วิธีที่จะทําให้ Power supply ทํางานคือเชื่อต่อระหว่างสายสีเขียวกับสายสีดํา(สายที่ออกมาจาก Power supply)ดังรูป

Image

สําหรับสัญญาณเสียงจะออกทางช่อง Audio jack (4) หรือ Analog audio (1)

Image

แบบทํา Power supply เอง

สําหรับวิธีการทํา Power supply เองนั้นจําเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Electronic เบื้องต้นบ้างนะครับ ทําวงจรตามนี้ได้เลยครับ เป็นวงจรเร็กติไฟเออร์ + Regulator ครับ

Image

แล้วนําไปเสียบกับ Power connector ของ CD-ROM ได้เลยครับ สําหรับสัญญาณเสียงจะออกทางช่อง Audio jack (4) หรือ Analog audio (1)

Image

เรียบร้อยครับ CD-ROM เก่าๆที่ถูกวางทิ้งไว้ ก็กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง :)

สําหรับแผ่นที่สามารถเล่นได้จะเป็นแผ่น Audio เท่านั้นนะครับ mp3 จะไม่สามารถเล่นได้

ข้อมูลและรูปภาพจาก www.computerhope.com www.circuitstoday.com

Suggestion blogs

เริ่มต้นใช้ Docker Swarm

ในบทความที่แล้ว (Docker Swarm คืออะไร) ผมได้อธิบายไปแล้วว่า Docker Swarm คืออะไร และการใช้งานแบบคร่าวๆ สําหรับในบทความนี้ผมจะมาทดลองให้ดูว่าเมื่อนํา Docker Swarm มาใช้งานแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าคําสั่งพื้นฐานของ Docker Swarm ที่จะต้องใช้มีอะไรบ้าง

Arduino ตอน4 ภาษา C++ สําหรับ Arduino

สวัสดีครับ หลังจากที่เราได้เรียนรู้การใช้งาน Arduino ตั้งแต่ติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ไปจนถึง Upload โปรแกรมลง Arduino board ในบทความ Arduino ตอน3 ติดตั้ง Arduino IDE และเริ่มต้นเขียนโปรแกรมแรก กันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะลงลึกการเขียนโปรแกรมควบคุม Arduino กันแบบจริงๆจังๆกันครับ โดยจะเน้นไปในส่วนของโครงสร้างของภาษา C++ สําหรับ Arduino

การใช้งานคำสั่ง git status

สวัสดีครับ บทความนี้จะมีเนื้อหาการใช้งานคําสั่ง git status เพื่อจะดู Status ของ file ต่างๆ ที่อยุ่ใน Repository ครับ


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.51.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ