Stateless Component ใน React

10 Feb 2018

Share to:

สวัสดีครับ บทความนี้จะเกี่ยวกับ การสร้างและใช้งาน Stateless Component ใน React ซึ่งเป็นการสร้าง Component อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ภายใน Component จะไม่มี State

ในบาง  Component ที่เราสร้างขึ้นมาใช้งานไม่จําเป็นจะต้องใช้ State อาจเป็นเพียง Component ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วแสดงผลเพียงอย่างเดียว จึงไม่จําเป็นต้องสร้าง Component แบบเดิมที่จะต้อง Extends React.Component ทําให้เวลาที่เราใช้งานก็จะมี Life Cycle ต่างๆ ของ React มาด้วย วิธีการสร้าง Stateless Component ง่ายๆก็คือสร้าง Function ขึ้นมาเท่านั้นเอง ตามตัวอย่างนี้

function myName(props) {
  return <h1>My name is {props.name}</h1>
}

Function ด้านบนจะรับค่า Props เข้ามา แล้ว Return JSX ออกไป มาดูตัวอย่างการใช้งานกัน เราจะสร้าง Stateless Component โดยสร้างไฟล์ชื่อว่า myname.js แล้วก็ใส่ Code นี้ลงไป

import React from 'react'

function header(props) {
    return (
        <div>
            <h1>{props.msg}</h1>
        </div>
    )
}

export default header

หรือจะเขียนเทห์ๆ แบบ ES6 จะได้แบบนี้

import React from 'react'

const header = ({ msg }) => (
    <div>
        <h1>{msg}</h1>
    </div>
)

export default header

เวลานํา Component ไปใช้งาน ก็ Import เข้ามาใช้เหมือน Component ทั่วไปได้เลย

<Header msg="My header" />

ลองเอาไปใส่ใน App.js

Image

ลองรันดูจะได้หน้าตาแบบนี้

Image

ข้อดีของ Stateless Component

  • ไม่ต้องใช้ this (ไม่ต้อง bind ใน Constructor) แล้ว เช่น this.props.name ก็ใช้ props.name ได้เลย หรือ {onClikc={handleClikc}
  • ไม่ต้อง extends Class ให้ยุ่งยาก

Suggestion blogs

จริงหรือ? ที่สามารถกดเงินจาก ATM ด้วยรหัส ATM มากกว่า 1 ชุด

สวัสดีครับ บทความนี้ก็เป็นเรื่องสั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานตู้ ATM ซึ่งก็ตามหัวข้อนะครับ เราสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ด้วยรหัส ATM อื่นๆ นอกเหนือจากที่เราตั้งไว้ในตอนแรกที่เราทําบัตร ATM

ปิด serial console raspberry pi

serial console คืออะอะไรraspberry pi จะมี port สําหรับส่งข้อมูล serial หรือที่เค้าเรียกกันว่า UART การส่งข้อมูลแบบนี้จะใช้สายสัญญาณทั้งหมด 2 เส้น คือ TX, RX ใน raspberry pi ทุกตัวจะมี port นี้มาให้ 1 ชุดโดยปกติจะใช้สําหรับเป็น port เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าหน้า console โดยไม่ต้อง telnet ผ่าน network(จะใช้สาย USB  to Serial ในการเชื่อมต่อ)

เริ่มต้นใช้ Docker Swarm

ในบทความที่แล้ว (Docker Swarm คืออะไร) ผมได้อธิบายไปแล้วว่า Docker Swarm คืออะไร และการใช้งานแบบคร่าวๆ สําหรับในบทความนี้ผมจะมาทดลองให้ดูว่าเมื่อนํา Docker Swarm มาใช้งานแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าคําสั่งพื้นฐานของ Docker Swarm ที่จะต้องใช้มีอะไรบ้าง


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.34.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ