กฎของโอห์ม
กฎของโอห์ม คือสูตรการคํานวณ ความสัมพันธ์ ระหว่าง กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำใดๆ แปรผันโดยตรงกับความต่างศักย์ (แรงดันไฟฟ้า หรือแรงดันตกคร่อม คือกระแสมีค่ามากหรือน้อยตามความต่างศักย์นั้น) เขียนเป็นสมการได้ว่า
V ∝ I และกระแสไฟฟ้าจะแปรผกผันกับความต้านทานระหว่างสองจุดนั้น(คือถ้าความต้านทานมากจะทำให้กระแสไหลผ่านน้อย, ถ้าความต้านทานน้อยจะทำให้มีกระแสมาก) เขียนเป็นสมการได้ว่า I ∝ 1/R นำสูตรสมการทางคณิตศาสตร์ทั้งสองมารวมกัน, เขียนได้ดังนี้: I = V/R
Ohm-law
ตัวอย่างการนํากฎของโอห์มไปใช้ประโยชน์
คุณอาจจะสงสัยว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ผมจะยกตัวอย่างกรณีศึกษานี้ คือ ถ้าคุณอยากจะนํา LED ดวงเล็กๆ ไปต่อกับ Batterry ขนาด 12V จากที่เราทราบกันดีว่า หลอด LED ใช้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 3V และใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 10mA ถ้าเราเอาไปต่อกับ Battery 12V ตรงๆ มันจะพังครับ แล้วเราจะทําอย่างไรละ? แน่นอนครับ ใช้ ตัวต้านทานต่อ เพื่อลดกระแสไฟฟ้า และแรงดัน ให้เหมาะสมกับ LED ปัญหาที่ตามมาคือ แล้วเราจะใช้ ตัวต้านทานค่าเท่าไร ตรงนี้แหละครับ ความรู้ กฎของโอห์ม ที่เราเรียนมา มันช่วยเราได้ ก่อนอื่นให้ดูรูปวงจรก่อนครับ
Ohm’s law จากวงจรให้เรา กําหนดค่าต่างๆขึ้นมาเอง ตามอุปกรณ์ที่เราเลือกใช้ เช่น LED ใช้แรงดัน 3V เราก็จะกําหนดให้มีแรงดันตกคร่อม 3V ตัวอย่างการกําหนดค่าทั้งหมดมีดังนี้
- V = 12V แรงดัน Battery)
- I = 10mA
- แรงดันตกคร่อม LED คือ 3V
- แรงดันตกคร่อม R คือ 9V ค่านี้ได้มาจาก 12 -3 = 9V
Ohm’s law เมื่อเรากําหนดค่าทั้งหมดแล้ว เราก็จะใช้ กฎของโอห์ม ในการหาค่า R ตามสูตรนี้ R = V / I
- V คือ แรงดันตกคร่อม R
- I คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหนผ่าน R
แทนค่า R = 9V / 0.01A R = 900 โอห์ม เท่านี้เราก็จะได้ค่าของตัวต้านทานแล้วครับ :)