ตัวเก็บประจุหรือ คาปาซิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์อีกชนิดหนึ่ง สามารถเก็บสะสมประจุไว้ และสามารถคายประจุที่เก็บสะสมออกมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นตัวเก็บประจุจึงทำหน้าที่เก็บประจุและคายประจุ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
คุณสมบัติทางไฟฟ้าของตัวเก็บประจุคือ ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟที่ตกคร่อมตัวมัน เช่น ถ้ามีแรงดันไฟตกคร่อมตัวเก็บประจุเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทันทีทันใด ตัวเก็บประจุจะทำให้แรงดันไฟตกคร่อมตัวมันลดลงอย่างช้า ๆ จนถึงจุดอิ่มตัวจึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลงและในกรณีแรงดันไฟลดลงอย่างทันทีทันใด ตัวเก็บประจุก็หน่วงแรงดันไฟให้ลดลงช้า ๆ จนถึงจุดต่ำสุดจึงจะหยุดการหน่วงแรงดันไฟ จากคุณสมบัตินี้ตัวเก็บประจุมักจะนําไปใช้ในวงจรกรองความถี่ต่างๆ
ค่าความจุของตัวเก็บประจุเรียกว่าค่าความจุไฟฟ้า (CAPACITANCE) เป็นตัววัดว่าตัวเก็บประจุสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใดหรืออาจจะกล่าวได้ว่า ตัวเก็บประจุแปรผันได้โดยตรงกับจำนวนประจุ (ประจุมีหน่วยนับเป็น คูลอมป์) ที่ถูกเก็บไว้ในตัวเก็บประจุต่อแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ ที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุ ความจริงแล้วประจุที่ถูกเก็บอยู่ในตัวเก็บประจุจะเป็นศูนย์ (0) เพราะแผ่นตัวนำทั้งสองมีประจุต่างกัน ปริมาณเท่ากัน ฉะนั้นจึงขอเน้นว่า ประจุที่ได้สะสมอยู่ในตัวประจุ หมายถึง ประจุที่ถูกเก็บไว้ที่แผ่นบวกหรือแผ่นลบเท่านั้น ตัวอย่างเช่นตัวเก็บประจุ 2 ตัว แต่ละตัวป้อนด้วยแรงดัน 100 โวลต์ ปรากฏว่าตัวหนึ่งเก็บประจุได้ 5 คูลอมป์ อีกตัวหนึ่งเก็บประจุได้ 2 คูลอมป์ ดังนั้นตัวเก็บประจุที่เก็บประจุได้ 5 คูลอมป์จะมีค่าความจุไฟฟ้ามากกว่าตัวเก็บประจุที่เก็บประจุไว้ 2 คูลอมป์หรือถ้าตัวเก็บประจุ 2 ตัวเก็บประจุได้เท่ากัน แต่ตัวหนึ่งต้องการแรงดันไฟตกคร่อม 100 โวลต์ อีกตัวหนึ่งต้องการแรงดันไฟตกคร่อม 50 โวลต์ ตัวที่ต้องการแรงดันไฟตกคร่อมน้อยกว่าจะมีค่าความจุไฟฟ้ามากกว่าค่าของตัวเก็บประจุเรียกว่าค่าความจุ กำหนดให้มีหน่วยเป็นไมโครฟารัด (MICROFARAD) นอกจากบอกค่าความจุแล้วตัวเก็บประจุยังบอกขนาดทนแรงดันไฟตรงไว้ด้วย ขนาดทนแรงดันไฟตรงของตัวเก็บประจุ จะพิมพ์บอกไว้บนตัวเก็บประจุ บางบริษัทจะบอกค่าความจุและขนาดทนแรงดันไฟตรงเป็นรหัส ค่าความจุของตัวเก็บประจุมีช่วงกว้างมากคือเริ่มจาก 0.0000001 ถึง 10,000 ไมโครฟารัด ดังนั้นจึงมีการกำหนดหน่วยเป็น พิกโกฟารัด (PICO FARAD) และหน่วยเป็นนาโนฟารัด (NANO FARAD) การเทียบหน่วยเรียกค่าความจุ 1 ฟารัด (F) = 1,000,000 ไมโครฟารัด(mF) 1 ไมโครฟารัด (mF) = 1,000,000 พิกโกฟารัด (mF) หรือ 1 ไมโครฟารัด (mF) = 1,000 นาโนฟารัด (nF) ค่าความจุที่เรียกว่าเป็นพิกโกฟารัด จะแบ่งค่าที่ 1,000 PF หรือ 0.001 mF ถ้าค่าต่ำกว่าค่านี้จะเรียกเป็นพิกโกฟารัดหรือ พี เอฟ เช่น ค่า 500 PF จะไม่เรียกเป็น 0.005 mF หรือค่า 0.047 mF จะไม่นิยมเรียกเป็น 47,000 PF เป็นต้น
เมื่อต่อแรงดันไฟตรงให้กับตัวเก็บประจุ การประจุจะเกิดขึ้นเร็วมากถ้าไม่มีตัวต้านทานต่ออนุกรมอยู่ในวงจร ตัวเก็บประจุจะประจุเต็มเกือบจะทันทีที่ต่อแหล่งจ่ายแรงดันไฟตรงการต่อตัวต้านทานเข้าไปในวงจร จะทำให้เวลาในการประจุยืดออกไป ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างค่าทั้งสองจึงเขียนเป็นสมการได้ดังนี้คือ
T = R x C
ในการคิดเวลาการคายประจุใช้สมการเดียวกันกับการประจุค่าความจุของตัวเก็บประจุ จะมากหรือน้อยอยู่กับค่าความจุ
ข้อมูลจาก www2.tatc.ac.th
จากในบทความก่อนหน้านี้ นิพจน์จะเป็นชนิดข้อมูลประเภทเดียวกันทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วนิพจน์สามารถประกอบด้วยข้อมูลชนิดที่แตกต่างกันได้ เราจะเรียกว่า mixed type expression แต่หลักการของโอเปอเรเตอร์นั้น โอเปแรนด์ที่จะนํามาดําเนินการด้วยโอเปอเรเตอร์จะต้องมีชนิดข้อมูลที่เหมือนกัน ภาษาซีจึงมีกฎที่จัดการนิพจน์เหล่านี้อยู่ 2 ประเภท คือ implicit type conversion และ explicit type conversion
ไฟฉาย Jetbeam รุ่น Jet-TH20 เป็นไฟฉายรุ่นที่ที่มีความสว่างสูงสุด 3,450 Lumens แสงพุ่งไกลถึง 350 เมตร จุดเด่นของรุ่นนี้คือ สามารถใช้งานได้ในขณะอุณหภูมิติดลบถึง -20°Cใช้แบตเตอรี่ขนาด 18650 หรือ CR123*2 คุณสมบัติโดยทั่วไปดังนี้
ชนิดของข้อมูลในภาษาซีคือ ตัวกําหนดขอบเขต และลักษณะของข้อมูลนั้นๆ ข้อมูลที่มีชนิดต่างกันก็จะเก็บข้อมูลในลักษณะที่ต่างกัน และขอบเขตของข้อมูลก็จะไม่เท่ากันด้วย