การเข้ารหัสข้อมูลแบบอสมมาตร (Asymmetric key)

6 Sep 2015

Share to:

อัลกอริทึมนี้จะใช้กุญแจสองตัวเพื่อทำงาน ตัวหนึ่งใช้ในการเข้ารหัสและอีกตัวหนึ่งใช้ในการถอดรหัสข้อมูลที่เข้ารหัสมา โดยกุญแจตัวแรก คือ กุญแจสาธารณะ (Public keys) ซึ่งจะเป็นกุญแจที่ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูล กุญแจตัวที่สองคือ กุญแจส่วนตัว (Private keys) ซึ่งจะเป็นกุญแจที่ใช้ในการถอดรหัส อ่านๆไปแล้วอาจจะงงว่าจะเอาไปใช้ได้อย่างไร เรามาดูการทํางานกันดีกว่า

สมมุติว่ามี นายA และนายB ต้องการจะส่งข้อมูลถึงกัน นายA และนายB ต่างก็มี กุญแจคลละสองอัน(Public keys, Private keys)

นายA ก็บอกนายB ว่า ถ้าคุณต้องการส่งข้อความหาฉัน ให้คุณเข้ารหัสด้วย Public keys ของฉัน และนายB ก็บอกนายA เช่นเดียวกัน

ณ.เวลานี้ นายA และนายB ก็มี Public keys ของกันและกัน(นายA มี Public keys ของนายB, นายB มี Public keys ของนายA)

นายA อยากส่งข้อมูล ไปให้นายB นายA ก็จะต้อง เข้ารหัสข้อมูลด้วย Public keys ของนายB(จะส่งข้อมูลหาใครก็ต้องเข้ารหัสด้วย Public keys ของคนนั้น)

เมื่อนายB ได้รับข้อมูลมา นายB ก็ต้องถอดรหัสด้วย Private keys ของตนเอง ก็จะได้ข้อมูลที่นายA ส่งให้

สรุปคือ

  • Public keys ใช้สําหรับให้คนที่จะส่งข้อมูลถึงเรา เข้ารหัสข้อมูลก่อนส่งถึงเรา
  • Private keys ใช้สําหรับถอดรหัสข้อมูลที่เราได้รับมา

Image

Asymmetric-key

การเขียนโปรแกรม เข้ารหัส-ถอดรหัส แบบอสมมาตร (อย่างง่าย)

ตัวอย่างนี้จะเขียนด้วย javascript นะครับ โดยจะแสดงให้เห็นการเข้ารหัสเลข 6 ด้วย public key แล้ว ถอดรหัสด้วย private key

<!DOCTYPE html>
<html>
 <head>
 <meta charset="UTF-8">
 <title>Eample</title>
 <script>
 //สมุติว่าเรามีข้อมูล ที่เป็นไปได้คือ 0-9
 //และข้อมูลที่เราต้องการจะเข้ารหัสคือ 6
 var number = 6;

 //Key ของนายA
 var publicKey_A = 8;
 var PrivateKey_A = 2;

 //Key ของนายB
 var publicKey_B = 4;
 var PrivateKey_B = 6;

 //เข้ารหัสด้วย public key ของA
 var encode_A = (number+publicKey_A)%10;
 //ถอดรหัสด้วย Private key ของA
 var decode_A = (encode_A+PrivateKey_A)%10;

 //เข้ารหัสด้วย public key ของB
 var encode_B = (number+publicKey_B)%10;
 //ถอดรหัสด้วย Private key ของB
 var decode_B = (encode_B+PrivateKey_B)%10;


 document.write( "เข้ารหัสเลข 6 ด้วย public key ของA ได้: " + encode_A + " <---ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว<br>");
 document.write( "ถอดรหัสเลข 4 ด้วย Private key ของA ได้: " + decode_A + "<---ข้อมูลจริง<br><br>" );

 document.write( "เข้ารหัสเลข 6 ด้วย public key ของB ได้: " + encode_B + "<---ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว<br>");
 document.write( "ถอดรหัสเลข 0 ด้วย Private key ของB ได้: " + decode_B + "<---ข้อมูลจริง<br>" );

 </script>
 </head>
 <body>

 </body>
</html>

ข้อมูลจาก www.msit.mut.ac.th

Suggestion blogs

LDR ตัวต้านทานปรับค่าตามแสง

LDR (Light Dependent Resistor) คือตัวต้านทานปรับค่าตามแสง ตัวต้านทานชนิดนี้สามารถเปลี่ยนความนําไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ โฟโตรีซีสเตอร์ ( Photo  Resistor)   หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์   (Photo Conductor)   เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)   ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ ( Cds : Cadmium Sulfide)   หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ ( CdSe : Cadmium Selenide)   ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา โครงสร้างของ LDR

pointer c/c++

pointer เป็นชนิดข้อมูลประเภทหนึ่งที่สร้างจากชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานทั่วไป โดยชนิดข้อมูลแบบ pointer จะแตกต่างกับชนิดข้อมูลพื้นฐานตรงที่ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานจะเก็บและดึงข้อมูลจากตัวแปรโดยตรง แต่ชนิดข้อมูลแบบ pointer จะเก็บค่าที่อยู่(Address) ของตัวแปรอื่น และใช้ค่าที่อยู่นี้อ้างอิงไปยังข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัวแปรนั้นอีกที เพื่อทําการเก็บและดึงข้อมูลจากตัวแปรนั้นอีกที

เหรียญ 1 บาท เสด็จนิวัติพระนคร พ.ศ.2504

Imageเสด็จนิวัติพระนคร เหรียญเสด็จนิวัติพระนคร ราคา 1 บาท ด้านหลังตราแผ่นดิน ปี 2504


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.41.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ