สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาเริ่มต้นทําความรู้จักกับ Flutter กันนะครับ สําหรับบทความนี้เป็น EP.1 จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Flutter คืออะไร, การ Install Flutter และการเริ่มต้น Project แรก (Getting Start)
Flutter เป็น Google UI toolkit ที่ใช้สําหรับพัฒนา Native mobile application ทั้งฝั่ง IOS และ Android ด้วยภาษา Dart พูดง่ายๆก็คือสามารถเขียน Mobile application ด้วยภาษา Dart ครั้งเดียวแต่ Build ออกมาได้ทั้ง IOS และ Android ซึ่ง Flutter มี Feature หลักๆดังนี้
ในบทความนี้จะเป็นตัวอย่างการ Install Flutter สําหรับ macOS นะครับ OS อื่นๆดูวิธีติดตั้งได้จาก installation ทําตามได้ไม่ยากครับ
สร้าง Folder สําหรับเก็บ Flutter ที่เราจะ Clone มา
$ mkdir ~/development
$ cd ~/development
Clone Flutter ลงมาบนเครื่องเรา โดยใช้คําสั่ง
$ git clone https://github.com/flutter/flutter.git
ตั้งค่า PATH ให้ชี้ไปยัง Folder ที่เรา Clone มา
$ export PATH="$PATH:`pwd`/flutter/bin"
สําหรับคําสั่งด้านบนจะมีผลกับ Terminal ที่กําลังใช้อยู่เท่านั้น เมื่อเปิด Terminal ขึ้นมาใหม่จะต้องตั้งค่า PATH ทุกครั้ง
ถ้าต้องการจะให้การตั้งค่า PATH คงอยู่ตลอดไป ให้แก้ไขไฟล์ “/.bash_profile” หรือ “/.bashrc” กรณีใช้ Z shell โดยเพิ่ม Code นี้เข้าไป
ซึ่ง [PATH_TO_FLUTTER_GIT_DIRECTORY] เป็นที่อยู่ที่เรา Clone Flutter มาครับ
$ export PATH="$PATH:[PATH_TO_FLUTTER_GIT_DIRECTORY]/flutter/bin"
1 กดที่เมนู Extension
2 Search คําว่า “Flutter”
3 กดที่ Extension “Flutter”
4 กด Install ได้เลยครับ
ใช้คําสั่ง เพื่อตรวจสอบ dependencies ที่ Flutter จําเป็นต้องใช้
$ flutter docter
ถ้าไม่มีข้อไหน Error เลย ก็แสดงว่า Flutter เราพร้อมใช้งานแล้วครับ แต่ถ้า มี Error ข้อไหนก็ให้ไปติดตั้งตามคําแนะนําให้เรียบร้อยครับ
Create Flutter Project ด้วยคําสั้งนี้
$ flutter create hello_flutter
เปิด simulater IOS โดยไปที่ Xcode > open Developer Tool > Simulator
เมื่อเปิด simulater เรียบร้อยแล้ว สั่ง Run Project โดยไปที่ Run > Run Without Debugging
ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้
มาถึงจุดนี้เราก็สามารถสร้าง Flutter Project สําหรับสร้าง Mobile application ได้แล้ว
สําหรับ EP นี้ พอแค่นี้ก่อนครับ แล้วพบกัน EP หน้าครับ ขอบคุณครับ
dpi คืออะไร ?dpi(dots per inch) คือ จํานวนจุด ต่อ 1นิ้ว เป็นหน่วยของ ความละเอียดในการแสดงผลของสื่อแสดงผลประเภทต่าง เช่น หน้าจอ, printer, โปรเจคเตอร์ ฯลฯ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถแสดงภาพได้ ซึ่งเราจะสามารถมองเห็นภาพ ได้ดีที่สุดแค่ความละเอียด (dpi) ของสื่อนั้นๆ เช่น 5dpi หมายถึง ใน 1 ตารางนิ้ว จะมีจุดสี(pixel) จํานวน 5x5 = 10 จุด
ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) คือ ตัวคูณร่วม (หรือพหุคูณร่วม) ที่มีค่าน้อยที่สุด ที่จำนวนนับชุดใด(ตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป) ไปหารได้ลงตัว เช่น ค.ร.น. ของ 8 และ 12 คือ 24 เพราะ 24 คือจำนวนที่น้อยมากที่สุดที่ถูกทั้ง 8 และ 12 หารลงตัว
ในบทความที่แล้วเราได้ทําความรู้จักกับ ESP8266 กันแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการใช้งาน ESP8266 ด้วย Arduino IDE โดยจะใช้ ภาษา c/c++ ในการเขียนโปรแกรม