สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.12 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Recover ในภาษา Go ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องมาจาก Go EP.11 Panic ในภาษา Go ครับ
สําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.11 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.11 Panic ในภาษา Go
มาเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ
Recover ในภาษา Go เป็นคําสั่งที่ทํางานร่วมกันกับ Panic คือ Recover จะสามารถดักจับ “PANICKING STATE” ได้ครับ หมายความว่าถ้ามีการเกิด Panic ขึ้นเราสามารถใช้ Recover มาดักก่อนที่จะเกิด Runtime error ได้
ลองดูตามตัวอย่างนี้ครับ
package main
import (
"fmt"
"io/ioutil"
)
func main() {
defer panicHandler()
b, err := ioutil.ReadFile("myfile.json")
if err != nil {
panic("readFileError")
}
fmt.Printf("%v", b)
}
func panicHandler() {
r := recover()
if r != nil {
fmt.Printf("message from panic: %s", r)
}
}
// Output:
// message from panic: readFileError
จาก Code ด้านบนจะเห็นว่าเราใช้ Recover ไว้ใน Defer เนื่องจาก Defer จะทํางานทุกครั้งไม่ว่า Function นั้นๆจะจบแบบไหนก็ตาม
Recover จะเอาค่าที่เรา panic ไว้ออกมา และทําการยกเลิก Runtime error ทําให้เราได้ Output เป็นแบบนี้ครับ
มาถึงจุดนี้เราก็ได้เรียนรู้กันไปแล้วว่า Recover คืออะไร และนําไปใช้งานอย่างไร
เนื้อหาในบทความนี้ก็มีเพียงเท่านี้ครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ ของคุณครับ
วิธีใช้ คําสั่ง top ดู process ของโปรแกรม ที่ต้องการ ใช้คําสั่งดังนี้
เรามาทําความรู้จักกับ Raspberry Pi กันก่อนว่ามันคืออะไร มันทําอะไรได้บ้าง
อาร์เรย์เป็นชนิดข้อมูลประเภทหนึ่งที่นําชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานเช่น int, char มาประยุกต์ ให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 ชุด ซึ่งจะต่างจากชนิดข้อมูลทั่วไปคือ ชนิดข้อมูลทั่วไปเมื่อประกาศมาแล้วจะเก็บค่าได้เพียง 1 ค่าต่อตัวแปร 1 ตัวเท่านั้น แต่เมื่อประกาศตัวแปรเป็นชนิดข้อมูลแบบอาร์เรย์ จะสามารถกําหนดขนาดของข้อมูลที่จะเก็บได้