ในปัจจุบันเทคโนโลยี Internet มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทําให้เราเข้าถึง และใช้งาน Internet มากขึ้น ทําให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Internet จํานวนมาก ร้านค้าใช้ Internet มาช่วยในการดําเนินธุรกิจ ในบทความนี้ผมจะพูดเกี่ยวกับ Payment Gateway หรือช่องทางการชําระเงินออนไลน์ของผู้ให้บริการเจ้านึงคือ Omise และมาลองเปรียบเทียบกับ Payment Gateway เจ้าอื่นๆ
อย่างที่ผมบอกไปตั้งแต่ต้นว่า Payment Gateway ก็คือช่องทางการชําระเงินออนไลน์ ตัวอย่างคือ เว็บขายของต่างๆ, Sticker Line, Application ต่างๆ ที่สามารถให้เราจ่ายเงินบนหน้าเว็บได้เลยโดยใช้บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ซึ่งมันง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย
การที่เราจะนํา Payment Gateway มาใส่ในเว็บ หรือเอามาใส่ใน Application ของเรา จะมีด้วยกันสองวิธีคือ
วิธีการแรก เชื่อมต่อเว็บไซต์ของเราเข้ากับระบบของธนาคาร เป็นวิธีที่เราต้องเข้าไปคุยกับธนาคารว่าเราจะนําระบบชําระเงินมาติดตั้งบนเว็บของเรา ซึ่งวิธีนี้จะมีข้อจํากัดของธนาคารหลายอย่าง เช่น ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท และต้องวางเงินฝากค้ำประกันข้างต้น 200,000 บาท ฯลฯ วิธีที่สอง เชื่อมต่อเว็บไซต์กับผู้ให้บริการแบบ 3rd Party เป็นวิธีที่ใช้บริการตัดบัตรของ 3rd Party อย่าง Paypal, Omise, ChaiyoPay, Paysbuy ซึ่งข้อจํากัดจะน้อยกว่าวิธีแรก แล้วง่ายกว่า
Omise เป็น Payment Gateway เจ้านึ่งที่จะช่วยให้เรา พัฒนาเว็บเว็บ หรือ Application ที่สามารถชําระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตได้ โดยจะให้บริการเป็นแบบ 3rd Party เรามาเปรียบเทียบความแตกต่างระกว่าง Omise กับ 3rd Party เจ้าอื่นๆ โดยผมจะแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆดังนี้
ค่าธรรมเนี่ยมของ Omise คือ 3.65% + Vat 7% ส่วน PaysBuy, ChaiyoPay จะประมาณ 4% + Vat 7% และ paypal จะมีค่าธรรมเนียมในการขายจะอยู่ที่ 4.4% + $0.30 USD ต่อการขาย หรือต่ำกว่านั้น ค่าธรรมเนี่ยมในการถอนเงินออกมาเข้าบัญชีของเรา Omise ถ้าน้อยกว่า 2 ล้าน ค่าธรรมเนียมครั้งละ 30 บาท ถ้ามากกว่า 2 ล้าน ธรรมเนียมครั้งละ 150 บาท ส่วน paypal ถ้ายอดเงินที่ถอนไม่ถึง 5,000 บาท มีค่าธรรมเนียมในการถอนเงิน 50 บาท ถ้าเกิน 5,000 ก็ไม่มีค่าธรรมเนียม
ระยะเวลาในการถอนเงินออกจาก 3rd Party แต่ละเจ้าคือ
ข้อดีของ Omise คือ สนับสนุการพัฒนาได้หลายรูปแบบมาก มีข้อมูล API ต่างๆครบถ้วน และที่สําคัญมีระบบทดสอบ โดยเราสามารถทดสอบการชําระเงินตั้งแต่รับชําระเงินไปจนโอเนเงินเข้าบัญชีของเราได้เลย (โดยเราจะได้เห็นกระบวนการทั้งหมดทําให้เราเข้าใจมากขึ้น) Omise มี Library สําหรับให้เราไปพัฒนาดังนี้
Omise จะมี Dashboard ให้เราสามารถดูยอกเงินที่ชําระเข้ามาได้ตลอดเวลา และยังสามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้หลายบัญชีพร้อมกันได้
Omise จะใช้ Token แทนข้อมูลของบัตรเครดิตลูกค้า โดยจะมีการทํางานดังนี้ Library ของ Omise จะทําการส่งข้อมูลชุดนี้
ไปให้ server ของ Omise แล้ว server ก็ทําการ สร้าง token(เป็นข้อมูลที่ไม่มีความหมายซึ่งใช้แทนข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า) ขึ้นมา แล้วส่งกลับมาให้เราซึ่งเราจะเก็บข้อมูล Token (เป็นตัวแทนของข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า) นี้ไว้ใช้ในการตัดเงินจากบัตร โดยกระบวนการในการตัดเงินก็คือ ส่ง Token นี้ไปพร้อมกับจํานวนเงินที่ต้องการ ระบบก็จะดําเนินการตัดเงินตามจํานวนที่เราระบุ ข้อดีของการใช้ Token คือ เมื่อ Hacker ได้ข้อมูล Token นี้ไป ก็ไม่สามารถทําอะไรได้เพราะไม่ใช่ข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า
Omise เหมาะสําหรับผู้ใช้ที่ต้องการพัฒนาธุรกิจของตัวเองโดยการใช้ Payment Gateway โดย Omise ก็เป็นตัวเลือกหนึ่ง ที่มีระบบที่ง่าย มีความปลอดภัย ลงทุนน้อย และที่สําคัญผู้พัฒนาสามารถที่จะทดสอบระบบการชําระเงินได้ และ implement ได้กับหลายภาษา Omise ยังมีเทคโนโลยีการตรวจสอบข้อมูลบัตรเครดิตที่แข็งแกร่ง และมี Token ซึ่งเป็นความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง ทําให้ข้อมูลของบัตรเครดิตของลูกค้าไม่รั่วไหลไปไหน
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ Creative Commons(CC)เป็นสัญญาอนุญาตที่ช่วยให้เจ้าของผลงาน หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ แต่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ โดยการแสดงสัญญาอนุญาตที่ผลงานของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ
สวัสดีครับ หลังจาก EP.1 เราได้เรียนรู้การ Install และสร้าง Project กันไปแล้ว ในบทความนี้ก็เป็น EP.2 แล้วนะครับ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ภาษา Dart ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จําเป็นในการพัฒนา Mobile application ด้วย Flutter
โดยปกติกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวนําไฟฟ้าเช่น สายไฟฟ้า สายทองแดง โดยจะมีอิเล็กตรอนไหลจากขั้วลบไปยังขั้วบวกจนครบวงจร ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของรางกายของเราไปสัมผัสกับตัวนําไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ แล้วทําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายของเรา จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึงชีวิตได้