Cover image

การใช้งาน Neo Pixel WS2812B กับ Raspberry pi2

23 May 2019

Share to:

ในบทความที่แล้ว เราทำความรู้จักกับ Neo Pixel WS2813 กันไปแล้ว วันนี้ผมจะมาแนะนำเรื่อง การนำ Raspberry Pi2 มาควบคุม Neo Pixel WS2812B

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • Raspberry Pi2 ติดตั้ง OS เรียบร้อย
  • Neo Pixel WS2812B
  • สายไฟสําหรับจัมพ์ระหว่าง Neo Pixel WS2812B กับ Raspberry Pi2

เมื่อเตรียมอุปกรณ์เสร็จแล้วให้คุณต่อสายตามนี้ครับ

  • Raspberry pi2 ขา 2 <-----> NeoPixel ขา 1(VDD 5V)
  • Raspberry pi2 ขา 6 <-----> NeoPixel ขา 3(GND)
  • Raspberry pi2 ขา 12 <-----> NeoPixel ขา 4(DIN)

ตําแหน่ง ขา ของ Raspberry Pi2

Image

รูปการต่ออุปกรณ์

Image

เมื่อต่อสายเสร็จเรียบร้อย ให้ Download Source code ที่

github.com/thitiblog/ws2812b-raspberry-pi2.git

และไฟล์ต่วอย่างการใช้งาน ดังนี้

  • neo-test.cpp <--- ไฟล์ตัวอย่างการใช้งาน library
  • neopixel <--- ไฟล์ตัวอย่างที่ถูก compile แล้ว
  • ws2812b.cpp <--- ไฟล์ library .cpp
  • ws2812b.h <--- ไฟล์ library .h

หลังจากนั้นให้เปิดไฟล์ neo-test.cpp ขึ้นมาจะมีเนื้อหาตามนี้

#include "ws2812b.h"

int main(int argc, char **argv){

   ws2812b *_ws2812b = new ws2812b(1); //1 pixel LED
   _ws2812b->initHardware();
   _ws2812b->clearLEDBuffer();

   int tmp;

   for(;;){
      //RGB Blink.
      _ws2812b->setPixelColor(0, 255, 0, 0);
      _ws2812b->show();
      usleep(1000*1000);

      _ws2812b->setPixelColor(0, 0, 255, 0);
      _ws2812b->show();
      usleep(1000*1000);

      _ws2812b->setPixelColor(0, 0, 0, 255);
      _ws2812b->show();
      usleep(1000*1000);

      //Rainbow
       for( int i=0 ; i<=255 ; i++){
           if( i < 85 ){
               _ws2812b->setPixelColor(0, i*3, 255-i*3, 0);
               _ws2812b->show();
           }else if( i < 170 ){
               tmp = i-85;
               _ws2812b->setPixelColor(0, 255-tmp*3, 0, tmp*3);
               _ws2812b->show();
           }else{
               tmp = i-170;
               _ws2812b->setPixelColor(0, 0, tmp*3, 255-tmp*3);
               _ws2812b->show();
           }
           usleep(1000);
       }

		usleep(1000*1000);
   }

   delete _ws2812b;

   return 0;
}

ผมจะอธิบายการใช้งาน library จากตัวอย่าง Code ด้านบนเลยนะครับ

  • บรรทัดที่ 1: include library เข้ามาก่อนครับ(parameter ที่ส่งไปเป็นเลข 1 คือ จํานวนของ NeoPicel ที่เราต่อครับ)
  • บรรทัดที่ 5: คือ ให้เราสร้าง object ของ class ws2812b ขึ้นมาก่อน
  • บรรทัดที่ 6: ให้เรา Init hardware ก่อน คือ library จะไป config ค่า hardware ต่างๆให้เรา
  • บรรทัดที่ 7: คือ clear ค่า buffer

ขั้นตอนเมื้อกี้คือขั้นตอนแรกก่อนจะเริ่มสั่งให้ NeoPixel ทํางาน ขั้นตอนต่อไปให้เราดูที่ 2 method นี้

  • _ws2812b->setPixelColor(pixel, r, g, b); <--- เป็นคําสั่ง Set ค่าสีว่าจะให้แสดงสีอะไร
  • _ws2812b->show(); <--- เป็นคําสั่ง ที่สั่งให้ Neo Pixel ติดขึ้นมาเป็นสีตามที่เรา Set ไว้

รายละเอียดของ parameter

  • pixel: ตําแหน่งของ Neo Pixel ที่เราต้องการ Set ค่าสี(ในกรณีที่ต่อ Neo Pixel หลายๆตัว)
  • r: ค่าของสี แดง (0-255) 0คือ ปิดสีนี้ไปเลย 255 คือสว่างสุด
  • g: ค่าของสี เขียว (0-255) 0คือ ปิดสีนี้ไปเลย 255 คือสว่างสุด
  • b: ค่าของสี นํ้าเงิน (0-255) 0คือ ปิดสีนี้ไปเลย 255 คือสว่างสุด

เสร็จแล้ว Compile ให้เรียบร้อยครับ

จบเพียงเท่านี้ครับ ผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยนะครับ :)

ข้อมูลจาก element14


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.45.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ