ไฟฟ้าดูด (Electric shock)

15 Dec 2017

Share to:

โดยปกติกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวนําไฟฟ้าเช่น สายไฟฟ้า สายทองแดง โดยจะมีอิเล็กตรอนไหลจากขั้วลบไปยังขั้วบวกจนครบวงจร ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของรางกายของเราไปสัมผัสกับตัวนําไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ แล้วทําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายของเรา จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือบาดเจ็บถึงชีวิตได้

โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จะมีความต้านทานอยู่ แต่จะมีค่าไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่บุคคล และถ้าร่างการเปียกนํ้าก็จะทําให้ความต้านทานเปลี่ยนไป เมื่อร่างกายของเราสัมผัสกับไฟฟ้าแล้วทําให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ไหนผ่านจะมีวิธีการคํานวณด้วยกฎของโอห์มคือ I = V/R โดยที่ V คือ แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น Volt I คือ กระแสไฟฟ้า R คือ ค่าความต้านทาน จากสูตรจะเห็นว่าถ้ายิ่งร่างการของเรามีความต้านทานน้อยก็จะทําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวเรามาก หรือถ้ายิ่งแรงดันไฟฟ้ามากก็จะทําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายของเรามากเช่นกัน กรณีที่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC ค่าความต้านทานของร่างการจะลดลงเพราะร่างการของเราเปรียบเสมือนตัวเก็บประจุ ซึ่งค่าความต้านทานจะขึ้นอยู่กับความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับด้วย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์

  • 1 mA หรือ น้อยกว่า  ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
  • มากกว่า 5 mA  ทำให้เกิดการช็อก และเกิดความเจ็บปวด
  • มากกว่า 15 mA  กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
  • มากกว่า 15 mA  กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
  • มากกว่า 30 mA  การหายใจติดขัด และสามารถทำให้หมดสติได้
  • 50 ถึง 200 mA  ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • มากกว่า 200 mA  เกิดการไหม้บริเวณผิวหนังที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • ตั้งแต่ 1A  ขึ้นไป ผิวหนังบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลายอย่างถาวร และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที

วิธีป้องกันการเกิดไฟฟ้าดูด

1.มือเปียกไม่จับ

เมื่อมือของคุณเปียกชื้น หรือแม้กระทั่งขณะยืนอยู่บนน้ำ ห้ามแตะต้องอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านมาสู่ร่างกายเราได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว

2.การติดตั้งสายไฟ

ต้องไม่อยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะจะทำให้ฉนวนหุ้มสายชำรุดได้ง่าย สายไฟฟ้าต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะต่างๆ ควรกำหนดและวางแนวการติดตั้งสายไฟให้พ้น หรือห่างไกลจากทางเดิน

3.ใส่รองเท้าเสมอ

อย่ากลัวว่าการใส่รองเท้าเดินไปมาในบ้านจะทำให้บ้านสกปรก เพราะการใส่รองเท้าสามารถป้องกันไฟฟ้าที่อาจรั่วไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้ามาสู่ตัวเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งตู้เย็น ซื้อรองเท้าสำหรับเดินในบ้าน (Slipper) ติดไว้

4.ตรวจสอบอุปกรณ์อยู่เสมอ

ตรวจเช็คสายไฟอย่างสม่ำเสมอ สภาพสายไฟฟ้าเก่าหรือหมดอายุการใช้งาน สังเกตได้จากฉนวนที่มีการแตก บวม แห้งกรอบ การชำรุดของฉนวนสายไฟฟ้าอาจเกิดจากหนู หรือแมลงกัดแทะ ถูกของมีคมบาด วางของหนักทับ เดินสายไฟฟ้าใกล้แหล่งความร้อน หากเกิดการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ หรือสายไฟ ควรรีบทำการซ่อมแซมแก้ไขโดยด่วน

5.ถ้าคุณไม่ใช่ช่างไฟอย่าซ่อมเอง

อย่าทำการซ่อมแซมเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองเป็นอันขาด หากไม่มีอุปกรณ์ในการตรวจสอบและซ่อมแซม และไม่มีความรู้ทางด้านช่างไฟฟ้ามาก่อน เพราะมันเสี่ยงต่อการที่คุณจะถูกไฟดูดได้

6.ติดตั้งเครื่องตัดไฟ

การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านเรือน ก็เพื่อป้องกันภัยไฟฟ้าดูด หรือลัดวงจร ลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนช่วยรักษาความปลอดภัยของร่างกาย และทรัพย์สิน

7.ไม่เสียบปลั๊กมากเกิน

ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟตัวเดียว หรือเต้าเสียบเพียงช่องเดียว เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด ควรมีการแบ่งและกระจายการใช้งาน ไม่รวมอยู่ในจุดเดียวกันมากเกินไป อาจทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดไฟฟ้ารั่วได้

8.ติดตั้งสายดิน

เราควรให้ความสำคัญกับสายดินด้วย เพราะการต่อสายดินเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นการนำไฟฟ้าลงสู่ดิน โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากอยู่ใกล้น้ำและอาจเกิดอันตรายจากการใช้งานได้

9.เลือกปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐาน

ปลั๊กไฟพ่วงที่ดีจะต้องมีสายไฟ และเต้าเสียบที่ใช้วัสดุไม่ติดไฟ ควรเลือกยี่ห้อที่มีเครื่องหมาย มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ที่สำคัญควรเขย่าเพื่อฟังเสียงเบื้องต้น ถ้ามีเสียงตอนเขย่าอาจเป็นสาเหตุจากตะกั่วบัดกรีหลุดออกมา หากนำมาใช้งานอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

Suggestion blogs

Emulate Ethernet Over USB เพื่อใช้ SSH ผ่าน USB Raspberry Pi

สวัสดีครับ ปกติแล้วเมื่อต้องการจะควบคุม Raspberry Pi เราก็จะต้องเชื่อมต่อ Raspberry Pi เข้ากับ Network แล้ว SSH ไปที่ Raspberry Pi แต่วันนี้เราจะมาใช้งาน SSH ผ่าน USB โดยไม่ต้องไปเชื่อมต่อกับ Network ให้ยุ่งยากวุ่นวาย เพียงแค่เรามีสาย USB เพียงเส้นเดียวก็สามารถ SSH เพื่อควบคุม Raspberry Pi ได้

Props และ State ใน React

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาดูเรื่องของ Props และ State ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสําคัญ และใช้งานบ่อยใน React ผมจะอธิบาย และสอนการใช้งานไปที่ละตัวนะครับ ดังนี้

มาตราฐาน RSS 2.0

สวัสดีครับ สําหรับทความนี้จะเกี่ยวข้องกับ มาตรฐานของ RSS 2.0 ก่อนอื่นมาดูตัวอย่าง xml ของ RSS 2.0 กันก่อน


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.41.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ