Arduino ตอน9 วิธีใช้ Analog output (PWM) ใน arduino

13 Jul 2019,
Share: 
Cover image

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้งาน Analog output หรือ PWM ใน Arduino กันครับ โดยปกติแล้ว Arduino จะทํางานกับข้อมูลหรือ I/O ที่เป็นแบบ Digital HIGH/LOW (0V/5V) แต่ในบางกรณีเราอาจจําเป็นต้องใช้งาน I/O ที่เป็นแบบ Analog (0v, 1V, 2V…5V) เพื่อใช้ควบคุมอุปกรณ์ที่เป็นแบบ Analog เช่น ความสว่างของหลอดไฟ, ควบคุมความเร็วของ Motor ฯลฯ

เริ่มเรียนรู้จาก Workshop ควบคุมความความสว่างของหลอด LED ด้วย Analog output (PWM) ไปทีละ Step ดังนี้

Step1: ทําความรู้จักกับ Analog output ใน Arduino

นอกจาก Arduino จะมี Analog input มาให้เราใช้งานแล้ว ก็ยังมี Analog output มาให้เราใช้งานด้วยเช่นกัน ซึ่ง Arduino ก็จะมี Pin ที่เป็น Analog output มาให้ (แต่ละรุ่นก็จะมีตําแหน่งของ Pin ที่แตกต่างกันออกไป อ่านได้จากคู่มือ) ซึ่งเราสามารถใช้งานโดยกําหนดระดับแรงดันของ Output ได้ ตั้งแต่ 0-255 (256 ระดับ)

Function ที่ใช้ควบคุม Analog output คือ analogWrite() จะอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของ Coding ครับ

Step2: อุปกรณ์ที่ใช้

  • Arduino board UNO
  • LED
  • ตัวต้านทาน 220 โอห์ม

Step3: ต่อวงจร

ต่อวงจร โดยเราจะใช้ Pin 9 เป็น Analog output ครับ ซึ่งตัวต้านทานจะช่วยลดระดับแรงดันให้เหมาะสมกับ LED ครับ

Image

Step4: ลงมือ Coding

Coding ตามนี้ได้เลยครับ

int ledPin = 9;
int level = 0;

void setup() {
  pinMode(ledPin, OUTPUT);
}

void loop() {
  delay(10);
  analogWrite(ledPin, level); // สั่ง Output ให้มีค่าตาม level
  level = (level + 1) % 256; // เพิ่มค่า level 0-255
}

จาก Code โปรแกรมด้านบน ทุกๆครั้งที่วน Loop เราจะทําการเพิ่ม level ทีละ 1 แล้วนํา level ไปปรับระดับของ Output ด้วยคําสั่ง “analogWrite(ledPin, level);” และถ้า level เกินกว่า 255 จะปรับ level เป็น 0 ด้วยการ mod 256 (% 256) ทําแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทําให้ LED จะค่อยๆสว่างขึ้น เมื่อสว่างเต็มที่ก็จะดับและค่อยๆสว่างขึ้นอีกครั้ง ดังรูปครับ

Image

เท่านี้เราก็จะสามารถนําไปควบคุมอุปกรณ์ตามที่เราต้องการได้แล้วครับ

ขอบคุณทุกทานที่อ่าน และ Share บทความนี้ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะครับ :)

Suggestion blogs

Docker no space left on device error

สวัสดีครับ บทความนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Error ของ Docker ครับ คือ  "Docker no space left on device error" ซึ่งเกิดจาก Docker ไม่สามารถเขียนไฟล์ Docker.qcow2 ได้ เนื่องจาก ไฟล์ดังกล่าวมีขนาดใหญ่เกินไป

โครงสร้างของ jpg file (jpg structure format)

โครงสร้างของ jpg fileเรารู้จักกันดีนะครับว่า jpg file เป็นไฟล์รูปภาพ ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าโครงสร้างของไฟล์รูปภาพ หรือ jpg file เป็นอย่างไร เมื่อเราใช้โปรแกรมพวก Hex Viewer ต่างๆ เปิด jpg file ดู เราจะสามารถดูเนื้อของไฟล์ที่ถูกเขียนบน hdd ได้ซึ่งจะแสดงผลเป็นเลขฐาน 16

วิธีป้องกันสแปมรบกวนใน iMessage

สําหรับผู้ใช้งาน iPhone ในช่วงนี้ได้รับข้อความสแปมใน iMessage ทําให้บางคนเกิมความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย และเกิดความรำคาญ ในความเป็นจริงแล้วเราไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องไปกด Link ต่างๆที่ส่งเข้ามาก็ได้ครับ ไม่มีผลกระทบใดๆกับเครื่องของเราแต่อย่างใด แต่สําหรับใครที่ยังรำคาญ เราก็สามารถ Setting เพื่อโยนข้อความ iMessage ที่ถูกส่งมาจากบุคคลอื่น (บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อใน Contact ของเรา) แยกไปอยู่ใน Unknown Senders และก็จะไม่มีการแจ้งเตือนให้หน้ารําคาญ สามารถ Setting ได้ตามวิธีดังนี้ครับ


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.57.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ