เชื่อมต่อ ESP8266 กับจอ OLED LCD ด้วย I2C

21 Jun 2016

Share to:

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาสอนวิธีการเชื่อมต่อจอ OLED LCD กับ ESP8266 โดยผ่าน interface I2C ก่อนอื่นมาดูกันก่อนสิ่งที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง

  1. ESP8266
  2. OLED LCD module(ของผมใช้ขนาด 128x64)
  3. ESP_SSD1306 library
  4. Adafruit-GFX-Library
  5. Arduino IDE

มาเริ่มกันด้วยการเชื่อมต่อสายระกว่าง ESP8266 กับ OLED LCD 3V3(EAP8266)<---->VCC(OLED LCD) GND(EAP8266)<---->GND(OLED LCD) D1(EAP8266)<---->SCL(OLED LCD) D2(EAP8266)<---->SDA(OLED LCD) เมื่อเชื่อมต่อสายเสร็จแล้วให้นํา ESP_SSD1306 library และ Adafruit-GFX-Library ไปวางไว้ใน Path library ของ Arduino(“C:\Program Files (x86)\Arduino\libraries”) ดังรูป

Image

เปิดโปรแกรม Arduino IDE ขึ้นมา แล้วเปิด Source code ตัวอย่างโดยไปที่เมนู File—>Examples—>ESP8266 SSD1306 แล้วจะมีตัวอย่าง Source code ให้เราลองใช้งาน

Image

ในบทความนี้ผมเลือกตัวอย่าง ESP_ssd1306_128x64_I2C เพราะผมเชื่อมต่อแบบ I2C เมื่อเลือกแล้วจะมี Code ตัวอย่างขึ้นมาดังรูป

Image

เราสามารถลอง Compile และ burn ลง ESP8266 ได้เลย คําสั่งต่างๆของ library จะถูกอธิบายอยู่ใน Source code หมดแล้ว

Image

ข้อมูลจาก www.Adafruit.com github @somhi

Suggestion blogs

[ภาษาซี] การแปลงชนิดข้อมูล

จากในบทความก่อนหน้านี้ นิพจน์จะเป็นชนิดข้อมูลประเภทเดียวกันทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วนิพจน์สามารถประกอบด้วยข้อมูลชนิดที่แตกต่างกันได้ เราจะเรียกว่า mixed type expression แต่หลักการของโอเปอเรเตอร์นั้น โอเปแรนด์ที่จะนํามาดําเนินการด้วยโอเปอเรเตอร์จะต้องมีชนิดข้อมูลที่เหมือนกัน ภาษาซีจึงมีกฎที่จัดการนิพจน์เหล่านี้อยู่ 2 ประเภท คือ implicit type conversion และ explicit type conversion

Review ไฟฉาย JetBeam EC-R16

JetBeam EC-R16 เป็นไฟฉายขนาดเล็ก (2.2 ซม. x ยาว 7.1 ซม. x หัว 2.6 ซม.) ใช้แบตเตอรี่ CR123 หรือ 16340 ก็ได้ ความสว่างสูงสุด 750 Lumens รุ่นนี้สามารถเสียบชาร์จด้วย USB ได้ คุณสมบัติแบบละเอียดดังนี้

การใช้ Real time clock กับ Raspberry pi

ใน Raspberry pi จะไม่มี Real Time Clock มาให้ เมื่อเราปิดเครื่อง หรือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับ Raspberry pi วันที่และเวลาของเครื่องจะไม่เป็นปัจจุบัน วิธีที่จะทําให้เวลาของเครื่องเป็นวันที่ปัจจุบันมีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้ใช้ NTP server (จะต้องเชื่อมต่อกับเครือขาย internet)ใช้ Real time clock (ไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครือขาย internet)ในบทความนี้เราจะอธิบายวิธีใช้ Real time clock เป็นฐานเวลาให้กับ Raspberry pi ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่ามันคืออะไร Real time clock เป็น module ฐานเวลา เนื่องจากตัว module ใช้พลังงานจากถ่านกระดุมขนาดเล็กทําให้ตัว module ทํางานอยู่ตลอดเวลาแม้ไม่ได้จ่ายไฟเลี้ยง


Copyright © 2019 - 2025 thiti.dev |  v1.45.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Nostr   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ